เวทีเสวนาออนไลน์ “ภูมิทัศน์สื่อ 2570 กับทิศทางสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” ในการปฐมนิเทศผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ “พัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อ (บ่มเพาะ) ปีที่ 2” จัดโดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ชุดข้อมูลความรู้ประสบการณ์ จากวิทยากร คือ ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการอิสระด้านสื่อสารมวลชน ไพศาล (ซัน) ฮาแว Content Creator จาก THE STANDARD โดยมี ผศ.ดร.เจษฏา ศาลาทอง อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการเสวนา ฉายภาพและชี้ถึงความสำคัญของการทำสื่อในระบบนิเวศและภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป ชุดข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ จากวิทยากร เป็นไกด์ไลน์และข้อมูลสำหรับสำหรับคนทำสื่อได้ดีประการหนึ่ง Media Trust Thailand เก็บความมานำเสนอสำหรับผู้สนใจ
ดร. สิขเรศ กล่าวว่า ภูมิทัศน์สื่อ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ ประการแรกคือเรื่ององค์ประกอบว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง ส่วนที่สองคือเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนที่สามคือบทบาทหน้าที่ ทั้งในบทบาทที่เป็นองค์กรและบทบาทของคนทำสื่อ ส่วนสุดท้ายคือเรื่องความเปลี่ยนแปลง เพราะในแต่ละปีภูมิทัศน์สื่อก็จะมีความแตกต่างกัน
เรื่องต่อมาคือ ระบบนิเวศสื่อ ซึ่งมองเรื่องความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันในองค์ประกอบของอุตสาหกรรมสื่อ กิจการสื่อทั้งหมด ต่อมาต้องมองเรื่องตัวแปร ปัจจัยในการเปลี่ยนแปลง วันนี้มอง 2-3 ภาคส่วนที่สำคัญ เรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยี เรื่องเกี่ยวกับระบบสังคม เรื่องเกี่ยวกับการทำธุรกิจ หรือบทบาทของสื่อมวลชนว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
“สรุปภาพรวมในปี 2000 – 2020 เราเห็น factor ที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 5 บริบทที่สำคัญ คือ 1) นวัตกรรมดิจิทัล หรือแพลตฟอร์มสื่อใหม่ 2) พฤติกรรมผู้บริโภคสมัยใหม่ มีวัฒนธรรมดิจิทัลขึ้นมาแล้ว 3) รูปแบบการมีส่วนร่วม 4) กระบวนทัศน์ใหม่ในการผลิต 5) วิถีทัศน์ในการบริหารจัดการสื่อในยุคใหม่”
ดร. สิขเรศ กล่าวว่า ถ้าพูดถึงความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสื่อ จะเห็นว่าก่อนปี 2000 มีการ production ที่ง่ายมากคือ Pre production – Production – Post production หรือเป็น flow แบบ Creation – Production – Distribution ซึ่งเป็นโมเดลอย่างง่าย พอทศวรรษ 2010 เป็นต้นมา เริ่มมีลูกศรย้อนไปย้อนมา การ Distribution สามารถย้อนไปย้อนมาได้ เช่น โทรทัศน์แบบเดิม ออนแอร์ไปแล้วก็ออนแอร์ไปเลย แต่พอมี OTT (Over the Top) เข้ามา สามารถชมย้อนหลังได้แล้ว
“Factor สำคัญที่พูดคุยกันวันนี้ เรามองทศวรรษต่อจากนี้ โดยเฉพาะปี 2570 เป็นต้นไป เราจะเห็นว่ามี factor สำคัญเกิดขึ้น หนึ่งคือพลานุภาพของอัลกอริธึม เรามีเอเจนซีใหม่ๆ ซึ่งไม่เคยมีในยุคก่อน เช่น THE STANDARD ก็เป็นเอเจนซีรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในยุค 2020 ต่อมาเรามี Content Creator แบบใหม่ สิ่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวันนี้คือ AI ที่มา disrupt กระบวนการผลิตของเรา”
ดร. สิขเรศ กล่าวว่า อยากจำกัดความว่า เราอยู่ในยุคนิเทศศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์ 101 หรือ วารสารศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์ 101 ในปี 2023 เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เริ่มต้นด้วย Chat GPT ตนเพิ่งไปดูงาน KBS ที่เกาหลีมา เขาใช้ปัญญาประดิษฐ์ทั้งกระบวนการแล้ว ในวงการดีเจ ก็ใช้ AI แล้ว หรือทางอักษรศาสตร์เพื่อค้นหาข้อมูลก็ใช้ AI เพื่ออ่านความได้แล้ว ผู้ประกาศข่าวปัญญาประดิษฐ์ก็มีมาแล้ว วงการโฆษณาก็เอา AI เข้ามาทำงาน สิ่งสำคัญคือเราจะตอบรับมันอย่างไรให้มี strategy
“ปัจจุบัน บริบทที่เกี่ยวข้องกับวงการวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ หรือ Content Creator ที่ AI เข้ามามีบทบาทในภูมิทัศน์สื่อของเราแล้วมี 7 บริบท คือ 1) Data gathering การรวบรวมข้อมูล 2) ทำ Script Writing บทภาพยนตร์ บทละคร 3) ทำ Fact Checking 4) ช่วยเรื่อง Audience Engagement 5) Automated Translation 6) Personalize Content 7) Automated Video / Audio”
สำหรับประเด็นว่าภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป คนทำสื่อจะสร้างสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์อย่างไร ดร. สิขเรศ กล่าวว่า จากงานวิจัยทั่วโลก keyword ที่สำคัญคือ Trustworthiness ความน่าเชื่อถือ น่าเชื่อมั่น ผมคิดว่าเป็นหัวใจหลักที่เราจะทำคอนเทนต์ในเชิงเนื้อหาสาระ Trustworthy ไม่ได้หมายถึงคอนเทนต์อย่างเดียว ตัวบุคคลด้วย มีความน่าเชื่อถือน่าเชื่อมั่นอย่างไร คอนเทนต์ที่ผลิตออกไปมีความน่าเชื่อมากน้อยขนาดไหน องค์กรก็เหมือนกัน ถ้าองค์กรไหนที่สามารถนำกระแสที่น่าเชื่อถือได้มากกว่า ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญ
ส่วนที่สอง เราต้องเข้าใจว่าโลกตอนนี้เราอยู่ในพหุสังคมทางวัฒนธรรม และเรามีปรากฎการณ์ใหม่ๆ เยอะมาก เพราะฉะนั้น นอกจากตัวเราเองแล้ว เราต้องอ่านค่าผู้ฟังผู้ชมให้ออกก่อน เมื่อก่อนคือแฟนคลับ แต่เดี๋ยวนี้คือแฟนด้อมที่เป็นตัวแปรที่สำคัญในการติดตามผลงานของ Content Creator หรือสื่อ เราจะสามารถจับแฟนด้อมของเราได้มากน้อยขนาดไหน
เรื่องต่อมา เป็นวัฒนธรรมในการผลิตที่โอเค คำที่สำคัญยังคงอยู่คือ Transmedia Story Telling ไม่ว่าจะมีแพลตฟอร์มไหนเกิดขึ้นมาเราต้องสามารถมี linkage ในการสามารถเล่าความ
“สรุปว่าตัวแปรที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นตอนนี้หรือปี 2570 คือ ความน่าเชื่อถือน่าเชื่อมั่น เครดิตของคนทำสื่อ สองคือเราสามารถจับกลุ่มเป้าหมายชองเราได้มากขนาดไหน และเราสามารถเล่าเรื่อง สื่อความในแพลตฟอร์มที่อาจจะเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป หรือแม้แต่เรื่องของอัลกอริธึม เราสามารถสื่อสารในแต่ละนวัตกรรมเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาใหม่และคงอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร”
ดร. สิขเรศ กล่าวว่า คอนเทนต์แต่ละรูปแบบมีแฟนด้อมของตัวเอง บางทีเราไปมองหาจากข้างนอก ลองหาจากข้างในดูก่อน หมายถึง มองในระดับ localization สเกลของการทำสื่อไม่เหมือนเดิม มีพหุวัฒนธรรมทางสังคม มีกลุ่มเยอะมาก จะทำอะไรที่เจาะลึกมากๆ ถ้าเป็นเมื่อก่อนอาจจะมีคนดูไม่มาก แต่ตอนนี้เป็นโอกาสทองที่จะทำในส่วนนี้ คือหาอะไรที่ถนัด ที่เหมาะสมกับเราในสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมต่างๆ ข้อที่สองคือตอบรับ และเรียนรู้กับมัน อย่าเพิ่งไปตั้งกำแพง และการ disruption มีอยู่ตลอดเวลา แต่การ disruption มีอีกรูปแบบหนึ่งคือ creative disruption การทำลายล้างเชิงสร้างสรรค์ มีแพลตฟอร์มใหม่ มีนวัตกรรมใหม่ ก่อให้เกิดโอกาส แต่ก็อาจทำลายล้างห่วงโซ่บางอย่างก็ได้
ไพศาล กล่าวว่า ในฐานะคนทำสื่อเราอ่านสถานการณ์ เรามองประเด็นเหล่านี้ เรื่องของเทคโนโลยีซึ่งเขย่าโลกมาก ช่วงที่ผ่านมาแพลตฟอร์มเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เข่น Facebook ถึงจะยังเป็น Facebook แต่ข้างในมันเปลี่ยน อัลกอริธึมเปลี่ยนตลอด เป็นปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้ ในฐานะคนทำสื่อก็ต้องเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนวิธีการ แพลตฟอร์มจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอด เราก็ต้องเรียนรู้ไปกับแพลตฟอร์ม หรือแพลตฟอร์ม X ถึงจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ก็ยังตอบโจทย์การส่งข้อความสั้น อีกแพลตฟอร์มที่น่าสนใจและเขย่าโลกในช่วงที่ผ่านมาคือ TikTok ซึ่งเขย่าวิธีการทำคอนเทนต์ด้วย ล้มทฤษฎีการทำคลิปทั้งหมด เราก็มาวิเคราะห์ พบว่าคนดู TikTok ชอบความไม่เป็นทางการ ชอบดูคลิปที่เหมือนเพื่อนถ่ายส่งมาให้ดู ตัวอย่างช่วงเลือกตั้งที่ผ่านมา คนอื่นก็ถ่าย TikTok กันปกติ ของ THE STANDARD นักข่าวต้องเซลฟี่ และคุยกับนักการเมืองที่เป็นตัวท็อป ปรากฏว่าสิ่งนี้กลายเป็นสิ่งที่ทำยอดคนดูได้เยอะมาก สิ่งสำคัญคือเราต้องเรียนรู้ไปกับแพลตฟอร์ม
เรื่องต่อมา ผู้ฟังผู้ชมอยู่ที่ไหนเราก็ต้องตามไป เดิมเราบอกทำสื่อต้องแมส แต่ปัจจุบันไม่น่ามีแมสอีกแล้ว มันมีความเฉพาะกลุ่มบางอย่าง หรือมีกลุ่มคนที่ติดตามบางอย่าง กลุ่มผู้ชมผู้ฟังมีความกระจายตัวมากขึ้น แต่ก็มีกรณีที่ยกเว้นบ้าง เช่น คุณสรยุทธ์ ก็ยังมีความแมส คนตามด้วยตัวบุคคล
อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องมิติทางวัฒนธรรม ผมคิดว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมาคนไทยให้ความสำคัญกับข้อมูลข่าวสารเยอะขึ้น สมัยก่อนรายการข่าวไม่เยอะเหมือนเดี๋ยวนี้ ผมมองว่ามันเป็น 2 ช่วง ข่วงแรกคือทีวีที่มีอยู่ช่วงหนึ่งคนก็ดูข่าวมากขึ้น เวลานำเสนอข่าวก็ขยายขึ้น ตอนหลังก็กลายเป็นเรื่องปกติ ล่าสุดเราเกาะติดเรื่องคดีสำคัญ ศาลรัฐธรรมนูญ Live อยู่ 3-4 ชั่วโมง คนดูเยอะ คนดูข่าวสารเยอะขึ้นโดยเฉพาะยุคที่เปลี่ยนผ่านมาสู่สื่อออนไลน์
ไพศาล กล่าวว่า ถ้าจะอ่านปรากฏการณ์สื่อไปข้างหน้า เรื่องของแพลตฟอร์ม เรื่องของผู้ชมผู้ฟัง และเรื่องของวัฒนธรรมการติดตามข่าวสารเป็นประเด็นสำคัญ เดิมเราคิดว่าคนที่อยู่จังหวัดห่างไกลอาจไม่ค่อยรับรู้เรื่องราวส่วนกลางมาก แต่ช่วงเลือกตั้งที่ผ่านมา ผมสัมผัสว่าชาวบ้านรับรู้พอๆ กับเราเลย เพราะเรื่องของเทคโนโลยี เรื่องของแพลตฟอร์มมันนำข้อมูลข่าวสารไปเร็วมาก ทุกคนดูมือถือ ติดตามข่าวสาร ผมคิดว่าปี 2570 ความเหลื่อมล้ำด้านข้อมูลข่าวสารนี่แทบจะไม่มีแล้วนะ และกลุ่มเป้าหมายจะกว้างมาก เดิมเราแยกกลุ่มคนดูทีวีกลุ่มหนึ่ง ออนไลน์กลุ่มหนึ่ง แต่ตอนนี้ทุกอย่างผสมกันหมด กลุ่มคนดูคนฟังกว้างมากขึ้น อย่าง THE STANDARD จะบอกว่าคนดูคนฟังอยู่ที่ไหนเราจะไปที่นั่น เราไม่ยึดกับแพลตฟอร์ม ถ้าวันหนึ่งคนไม่ได้ใช้ Facebook แล้ว เราก็พร้อมเปลี่ยน
เรื่องของความน่าเชื่อถือ เรื่องเครดิต เป็นสิ่งที่เสียไม่ได้เลย ผมจะถูกสอนมาตลอดว่าถ้าไม่ได้ยินกับหู หรือถ้าไม่ชัวร์เราจะไม่รายงานเด็ดขาด เรื่องของเครดิตไม่ใช่เฉพาะสายข่าว คนที่ทำ Content Creator ก็มีความเป็นเครดิตของตัวเองอยู่ รีวิวจริงหรือรับเงินมา หรือรูปแบบต่างๆ ส่วนความปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่ THE STANDARD จะมีการคัดกรองเนื้อหาต่างๆ อย่างเข้มข้น เรื่องของความเซ้นซิทิฟกับสังคม เช่น ประเด็นเยาวชน การก่อเหตุทางอาชญากรรม ก็อยากฝากถึงคนทำสื่อใหม่ๆ ว่าให้สร้างความชัดเจน มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัด และทดลองไปก่อน อย่ากลัว อย่าท้อ วันหนึ่งอาจจะเจอรูปแบบที่เหมาะกับตัวเอง
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |