ในโลกยุคดิจิตอลที่เต็มไปด้วยความสะดวกสบาย แต่กลายเป็นว่าสภาพจิตใจของผู้คนกลับย่ำแย่ โดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ป่วยในระบบเพิ่มสูงขึ้น 2 เท่า ส่วนใหญ่มีอาการโรคจิต ซึมเศร้า วิตกกังวล ขณะที่คนอายุ 15 ปีขึ้นไปป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน ขณะที่เมืองไทยประสบปัญหาขาดแคลนจิตแพทย์มายาวนาน ปัจจุบันมีจิตแพทย์อยู่ราว 1.25 คน ต่อประชากร 100,000 คน ต่ำกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่าควรมีจิตแพทย์ 1.7 คน ต่อ ประชากร 100,000 คนเป็นอย่างต่ำ
บ่อเกิดของปัญหาสุขภาพจิตมาจากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ไม่ดี ทั้งวิถีชีวิต, สังคม เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ เป็นต้น ปรากฎการณ์ที่ตามมาจากปัญหาสุขภาพจิตก็คืออาการ “หัวร้อน” หรือทางจิตเวชเรียกว่าอาการขาดความยับยั้งชั่งใจ ที่มักลงเอยด้วยการใช้ความรุนแรง ทั้งคำพูด การกระทำ และร้ายแรงถึงขั้นใช้อาวุธจนถึงแก่ชีวิต
ท่อนหนึ่งของเนื้อเพลง live and learn ที่โด่งดังโดนใจผู้คนก็คือ “อยู่ที่เรียนรู้และยอมรับ ตามความคิดสติเราให้ทัน” การมีสติจะช่วยให้อยู่กับความเป็นจริง ไม่ปรุงแต่งจิตใจจนเกิดเป็นความโลภ โกรธ หลง ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งทุกข์นานา
สติ เป็นคำพูดง่ายๆ แต่จะมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอกลับไม่ง่าย ยิ่งในโลกที่ถูกเร้าด้วยสื่อร้อนๆ ดังนั้นคงจะดีถ้ามีสื่อเย็นๆ คอยเรียก “สติ” ของเราให้กลับมาได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้พัฒนาสื่อเพื่อเผยแพร่พุทธศาสนามาอย่างต่อเนื่อง โดยต่อยอดจากการจัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสุขในปีที่แล้ว มาถึงมหกรรมสื่อส่งเสริมพุทธศาสนา “สื่อ ธรรม ดี” ในปีนี้ เป็นปีที่ 2 และมีการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการไปในช่วงวันออกพรรษาที่ผ่านมา โดยมุ่งเป้าไปที่เยาวชน ประชาชนทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เข้าถึงธรรมะได้ง่ายๆ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนมีสิ่งยึดเหนี่ยว ลดอาการหัวร้อนด้วยสติสัปปชัญญะ โดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์อธิบายว่า
“ถ้าสื่อขาดธรรมะก็จะนำพาผู้คนไปสู่ความขัดแย้ง ความเสื่อมทางศีลธรรม จริยธรรม ทำให้คนป่วยเป็นซึมเศร้า”
“ดังนั้นกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงให้ความสำคัญกับสื่อเพื่อเผยแพร่พุทธศาสนา โดยให้ทุนสนับสนุนหลายโครงการ ดังนั้นจึงต้องการรวบรวมไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกัน เป็น Big Data หรือศูนย์ข้อมูลกลางเหมือนห้องสมุดที่สามารค้นหาทุกอย่างได้”
“เนื้อหาแบ่งออกเป็น 4 หมวด หมวดแรกได้แก่ “ฟัง” ธรรม ซึ่งเป็นสื่อเสียงสามารถรับฟังได้ตลอดเวลา หมวดที่ 2 คือ “ดู” ธรรม เป็นคลิปวิดีโอที่สามารถเปิดชมได้ตามความต้องการของผู้เข้าชม หมวดที่ 3 คือ “อ่าน” ธรรม เป็นหนังสือที่มีมากมายมหาศาลและมีหลายภาษา และหมวดสุดท้ายคือ “สนทนา” ธรรม ซึ่งมีพระอาจารย์มาบรรยายธรรมและสนทนาธรรม”
สำหรับการจัดงานมหกรรมสื่อส่งเสริมพุทธศาสนา “สื่อ ธรรม ดี” ในปีนี้มีกิจกรรม 2 รูปแบบ
กิจกรรมแรกได้แก่ On Ground Event ในวันที่ 13 – 14 ธันวาคม 2566 ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดโพธิ์ โดยมีทั้งนิทรรศการ การแสดงจากศิลปิน งานเสวนา สนทนาธรรม บรรยายธรรม และเวทีวิชาการ ส่วนกิจกรรมที่ 2 อยู่ในระบบ On line เป็น Virtual Exhibition ซึ่งเป็นเหมือน Big Data ของสื่อพุทธศาสนาภายใต้แนวคิด “อยู่ที่ไหนก็เข้าถึงได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส” ผ่านช่องทาง www.มหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข
นอกจากนี้ยังเปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ทางพุทธศาสนา โดยทำโครงการประกวดคลิสั้นในหัวข้อ “หนูได้ธรรม”
“เราต้องการทำให้เกิดความเข้าใจใหม่ในหลักธรรมคำสอนที่เอาไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ได้มุ่งนิพพาน ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในวัด แต่ต้องนำธรรมะไปจัดการกับชีวิตให้ดีได้ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่กำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้ากันมากขึ้น”
“ถ้าเข้าใจความเป็นจริงของชีวิตว่าไม่มีอะไรได้อย่างใจ ศาสนาพุทธสอนเรื่องนี้ไว้แล้ว ทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เยาวชนก็จะมีหลักธรรมในการดำเนินชีวิต”
“เรากำลัง Transform ธรรมะไปสู่วิถีชีวิตของผู้คน ก็หวังว่าแพลตฟอร์มของเราจะช่วยบรรเทาอาการหัวร้อนของคนยุคนี้ได้ อีกประเด็นก็อยากสื่อสารว่าไม่จำเป็นต้องพูดคำหยาบในสื่อก็เท่ห์ได้เหมือนกัน” ดร.ธนกร กล่าว
ด้าน เต๋า ภูศิลป์ ศิลปินจากแกรมมี่ โกลด์ ที่จะร่วมแสดงในวันที่ 13-14 ธันวาคมนี้ด้วยกล่าวว่า “อยากเชิญชวนน้องๆ เยาวชนร่วมกันอัดคลิปวิดีโอในชีวิตประจำวันส่งเข้ามากันมากๆ ผมเองก็เคยเป็นคนที่หัวร้อนแต่พอได้ศึกษธรรมะแล้ว ก็พบว่านี่คือหนทางที่ดับความร้อนในตัวเราได้ และอยากชวนมาร่วมงานในเดือนธันวาคมด้วยครับ”
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |