ภายหลังคณะรัฐมนตรี มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ว่าด้วย Soft Power โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ว่าด้วย Soft Power ของประเทศ และจะนำไปสู่การจัดตั้งหน่วยงานใหม่ชื่อว่า THACCA (Thailand Creative Content Agency) โดยมี Kocca ของเกาหลีใต้เป็นต้นแบบ
เมื่อวันพุธที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา มีการสัมมนาออนไลน์ Korean-Thai Animation Exchange Day 2023 ในหัวข้อ Animation Industry Webinar & Online Business Matching จัดโดย Korea Creative Content Agency (KOCCA) ร่วมกับ Korea Animation Producers Association (KAPA), Korean Animation Industry Association (KAIA), และ Thai Animation and Computer Graphics Association (TACGA) เนื้อหาการสัมมนาทำให้เห็นบทบาทของ KOCCA ที่รัฐบาลเศรษฐา 1 กำลังจะเดินตาม และได้รับทราบถึง ตำแหน่งแห่งที่ ณ ขณะนี้ที่ประเทศเรายืนอยู่ ในอุตสาหกรรม Content
David Park Managing Director จาก KOCCA Thailand อธิบายในงานสัมมนา Korean-Thai Animation Exchange Day 2023 เมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมาว่า อุตสาหกรรมด้านเนื้อหาของเกาหลีใต้มีมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 753 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร เบื้องหลังความสำเร็จของเม็ดเงินมหาศาลนี้ก็คือ KOCCA
KOCCA หรือ Korea Creative Content Agency สำนักงานเนื้อหาเกาหลีสร้างสรรค์ เกิดขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมของประเทศเกาหลีใต้ โดยบูรณาการ 5 องค์กรไว้ด้วยกัน ได้แก่ งานกระจายเสียง งานส่งเสริมเกม งานส่งเสริมวัฒนธรรม งานด้านซอฟแวร์ และงานส่งเสริมคอนเทนต์เกาหลี
โดย KOCCA มีหน้าที่สนับสนุนอุตสาหกรรมคอนเทนต์ทุกด้าน ตั้งแต่การการผลิต การวางแผนและการพัฒนา การสร้างสรรค์ และสนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาพยนตร์ เพลง เกม แอนิเมชั่น ลิขสิทธิ์ตัวละคร แฟชั่น และการถ่ายทอดสัญญาณ ทั้งในประเทศและนอกประเทศ รวมไปถึงทำการตลาด การวางแผนกลยุทธ์ การพัฒนาบุคลากร การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ
บทบาทอีกด้านหนึ่งคือ ผลักดันให้เนื้อหาภาษาเกาหลีเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ เพื่อขยายรากฐานอุตสาหกรรมเนื้อหาของเกาหลีใต้ไปสู่อนาคต
KOCCA มีการกระจายพื้นที่ผลิตงานคอนเทนต์แต่ละประเภทไปสู่เมืองต่างๆ ของเกาหลีใต้ เช่น
ศูนย์สนับสนุนธุรกิจ Content Korea Let อยู่ที่ควางฮวามุน
KOCCA Music Studio อยู่ในกรุงโซล
สตูดิโอชื่อ Studio Cube อยู่ในแทจอน ซึ่งที่ใช้ถ่ายทำรายการโทรทัศน์ ละคร และภาพยนตร์ ซึ่งผลงานที่เกิดจากสตูดิโอแห่งนี้ก็อย่างเช่น ซีรี่ย์ที่โด่งดังเรื่อง Squid Game
นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ธุรกิจในประเทศต่างๆ 10 แห่งเพื่อรองรับธุรกิจในต่างประเทศ ตั้งแต่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ปารีส ฝรั่งเศส เวียดนาม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รัสเซีย รวมถึงประเทศไทย และมีแผนที่ขยายศูนย์ฯ ไปอีก 15 เมือง เช่น เยอรมนี อังกฤษ เม็กซิโก และอินเดีย เป็นต้น
ตัวอย่างของผลงานได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมคอนเทนต์เกาหลี ก็คือ ภาพยนตร์เรื่อง The Roundup และ ซีรี่ย์เรื่อง Extraordinary Attorney Woo และ Reborn Rich ซึ่งได้รับความนิยมสูงมากในประเทศไทย
สำนักงานส่งเสริมคอนเทนต์เกาหลี ได้จัดสรรงบประมาณเฉพาะสำหรับพัฒนา K-Animation ไว้ที่ 17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็น
– สนับสนุนการผลิต 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
– สนับสนุนการวางแผน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
– ส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
– เสริมสร้างความสามารถพื้นฐานทางอุตสาหกรรม 1 ล้าน
งบประมาณส่วนใหญ่ใช้เพื่อสนับสนุนการผลิต ซึ่งขณะนี้มีผลงานที่ได้รับทุนไปแล้ว 41 ชิ้น และมีการสนับสนุนการผลิตด้านไอที สนับสนุนการผลิตแอนิเมชั่น โดยใช้ IP จากเว็บตูน, นิยายบนเว็บ ภาพยนตร์ ละคร K-POP, เกม หรือวัฒนธรรมดั้งเดิม เพื่อรักษาความหลากหลายของแอนิเมชั่น ให้มีการค้นคว้าและทดลอง สร้างสรรค์งานใหม่ๆ
นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรงบประมาณ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐเพื่อตั้ง Animation Boot Camp ช่วยเสริมความสามารถในการวางแผนและพัฒนาให้กับผู้ประกอบการ
มีการออกแบบหลักสูตร Animation Producers Training Program เพื่อพัฒนาความสามารถของผู้วางแผนและพัฒนาแอนิเมชั่น
จัดสรรงบประมาณ 400,000 ดอลลาร์สหรัฐเพื่อจัดการแข่งขันการพัฒนาแอนิเมชั่น
ทำโครงการ K-Animation Global Business Support เพื่อช่วยสนับสนุนให้แอนิเมชั่นเกาหลีเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ในงบประมาณ 800,000 ดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากงานสัมมนาจากตัวแทนผู้ประกอบการจากเกาหลีใต้และไทยแล้ว ยังมีกิจกรรม Business Matching จับคู่เจรจาการค้าระหว่างผู้ประกอบการไทย-เกาหลีใต้ด้วย เพื่อเชื่อมโอกาสทางธุรกิจให้ทั้งสองประเทศ
คุณสันติ คุณสันติ เลาหบูรณะกิจ Deputy Managing Director จาก บริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น จำกัด และกรรมการสมาคมแอนิเมชั่นไทย ให้ข้อมูลว่าสมาคมฯ และองค์กรพันธมิตร ได้มีการสำรวจมูลค่าการตลาดแอนิเมชั่นทุกปี โดยข้อมูลล่าสุดระหว่างปี 2019-2021 ไทยมีผู้ประกอบการประมาณ 140 ราย แยกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
IP Owner กลุ่มเจ้าของผลงานของตนเองจำนวน 4 ราย โดยมีผลงานโดดเด่น เช่น ปังปอนด์ , ศาสตรา , TUMBI
Outsource กลุ่มรับจ้างผลิตจำนวน 129 ราย ซึ่งมูลค่าการตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยลูกค้าส่วนใหญ่คือประเทศจีน
Distributor กลุ่มผู้นำเข้าและการกระจายสินค้า 8 ราย ที่มูลค่าการตลาดหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง
กลุ่ม Outsource เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด เพราะคนไทยมีความโดดเด่นเรื่อง creative สูง และรับผิดชอบงานดี นอกจากภาพยนตร์แล้ว แอนิเมชั่นไทย ยังถูกนำไปใช้วงการโฆษณา ในเกม และสื่อการเรียนการสอนด้วย
เขามองว่าเกาหลีล้ำหน้ากว่าไทยไปมากแล้ว ไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และยังไม่มีองค์กรอย่าง KOCCA ที่แข็งแรงแบบเกาหลี การสนับสนุนอย่างเป็นระบบจะทำให้รายได้ส่วนใหญ่ของเกาหลี อยู่ที่ IP Owner จึงเป็นโมเดลที่สำเร็จมาก และพิสูจน์ว่าการสนับสนุนจากภาครัฐมีส่วนผลักดันความสำเร็จให้กับ IP Owner ของประเทศนั้นๆ จริง
ดังนั้นการร่วมมือกันของ 2 ประเทศน่าจะช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ ในเมืองไทยมีผู้ประกอบการ Outsource เก่งๆ ที่พยายามยกระดับเป็น IP Owner แต่จำเป็นต้องใช้ทุนสูง และพัฒนาการสร้าง story ที่สนุกอย่างเกาหลี ซึ่งยังต้องมีการพัฒนาสามารถอีกมาก
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |