ทิศทางการให้ทุน ปี 67 ผู้จัดการกองทุนสื่อฯ ย้ำ ตกผลึก เข้มข้น มุ่งสร้าง Impact และมูลค่าเพิ่ม

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดแถลงข่าวเปิดรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรม ประจำปี 2567 ไป เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 มุ่งหวังให้ผู้รับทุนสร้างผลกระทบเชิงบวกให้สังคม และจะเปิดรับข้อเสนอตั้งแต่วันที่ 1 – 31 ตุลาคม 2566 เวลา 16.30 น. โดยวันพรุ่งนี้ (26 กันยายน) จะมีการจัดอบรมการเขียนข้อเสนอโครงการให้กับผู้ขอรับการสนับสนุน Media Trust Thailand สัมภาษณ์พิเศษ ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เชื่อว่าสาระจากบทสัมภาษณ์ จะเป็นข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของกองทุนสื่อฯ 

 
แนวทางการให้ทุน ปี 67 ของกองทุนสื่อฯ มีทิศทางแตกต่างกว่าปีที่ผ่านมาอย่างไรบ้าง

แกต่างระดับหนึ่งไม่มาก ไม่ถึงกับแตกต่างมาก แต่ก็ไม่เหมือนเดิม แนวคิดการจัดสรรทุนปีนี้ ต้องถือว่าเรามีความแจ่มชัด มีการตกผลึกที่ชัดเจนมากเทียบกับปีก่อน ๆ เรายังสะเปะสะปะ อย่างทุนเชิงยุทธศาสตร์เรายังไม่ได้ฟันธงลงไปว่า เรามุ่งผลลัพธ์ ผลผลิตของผู้รับทุนที่จะออกมาสู่สังคมอย่างแท้จริง แล้วประเด็นก็ค่อนข้างหลากหลาย แน่นอนทุกประเด็นมีความสำคัญ แต่ในแง่การนำเสนอก็ต้องเลือกเรื่องเหมือนกันว่า ปีนี้จะเน้นธีมอะไร เพราะฉะนั้นปีนี้ทุนประเภทประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เราจะกระชับมากขึ้น

ส่วนทุนเปิดรับทั่วไป เป็นการตอกย้ำปรัชญาของเราว่า ทุนเปิดรับทั่วไป เราต้องการเปิดทุนให้กับคนที่ต้องการโอกาสขอทุน เปิดพื้นที่ให้กับคนที่ต้องการมาเรียนรู้พัฒนาตนเอง นั่นหมายความว่า คนที่เป็นผู้ผลิตหน้าใหม่ ๆ คนที่อยากลองฝีมือ ลองวิชา อบรมกับเราแล้วอยากจะเริ่มทำสื่อ เราอยากจะให้ทุนประเภทเปิดรับทั่วไป เป็นพื้นที่ของคนกลุ่มนี้ ในเมื่อปรัชญาของมันคือ การสร้างโอกาสเพื่อสร้างการเข้าถึงแหล่งทุน ขนาดของทุนก็ไม่ควรเป็นโครงการขนาดใหญ่เพราะความเสี่ยงก็ค่อนข้างมาก

ทุนเชิงยุทธศาสตร์ คนหน้าใหม่ ๆ ก็ยังแบ่งเป็น 4 กลุ่มเหมือนเดิม อันนี้ชัดว่า เวลาทำสื่อต้องตอบให้ได้ว่า ทำให้ใคร ใครเป็นคนดู กลุ่มเป้าหมายปลายทางของการสร้างสื่อชิ้นนี้คืออะไร ไม่ว่าจะเด็กเยาวชน  ผู้สูงอายุ คนพิการด้อยโอกาส และประชาชนทั่วไป 

 
แสดงว่า ปีนี้ทุน open Grant ที่จะได้งบสนับสนุนหลายล้านบาทเหมือนที่ผ่านมา จะไม่มี

ไม่ควรจะมี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อยู่ที่กรรมการ เราก็ย้ำไปว่า เราต้องการให้ทุนนี้กระจายตัวไปตามกลุ่มคนต่าง ๆ โรงเรียนในชนบท หมู่บ้านชุมชน คนทำงานอิสระ ดังนั้นมืออาชีพอย่าเอามาแย่งทุนกลุ่มนี้เลย เดิมไม่ชัดอาจมีบริษัทเข้ามา ปีนี้เราย้ำอยู่ตลอด คอยดูว่าผลลัพธ์จะออกมาอย่างไร

 

บริษัทใหญ่ก็ควรไปอยู่ในส่วนของทุนเชิงยุทธศาสตร์มากกว่า ซึ่งปีนี้คงเน้นความเข้มข้น

เพิ่มความเข้มข้นมาก เพราะการกำหนดมาเหลือ 6 ประเด็นถือว่าตกผลึกมาก เริ่มแต่ประเด็นที่หนึ่ง ทำไมเราเอาประเด็นเรื่องการใช้สื่อเพื่อสร้างการยอมรับความหลากหลายในสังคม  อันนี้ลึกซึ้งเพราะทุกวันนี้เราเดินไปสู่สังคมที่แตกแยก แบ่งเป็นฝักฝ่าย ไม่ยอมรับซึ่งกันและหันเห็นต่างเป็นศัตรู เป็นอีกฝั่งอีกฝ่าย ยากมากที่จะเห็นสันติสุขในสังคม จริง ๆ แล้วความเห็นต่างอยู่ร่วมกันได้ ถ้าเคารพในสิทธิขั้นพื้นฐานของตัวเอง และของคนอื่น ท่ามกลางสภาพสังคมที่มีความคิดแตกแยก เราก็คิดว่าควรมีคนที่จะลุกขึ้นมาเตือนสติ ชี้ให้เห็นความงามของพหุวัฒนธรรมหรือพหุสังคม ชี้ให้เห็นการอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข 

ประเด็นที่ 2 เป็นประเด็นที่เป็นภารกิจในการรับมือสื่อร้าย สื่อไม่ดี  ไม่ว่าจะเป็น Fake News Hate Speech Bully ภัยไซเบอร์ ปีที่แล้วเาแยกเรื่องนี้เป็น 2 ประเด็น แต่มาปีนี้เรา Group รวมเลย สื่อที่จะสามารถรับมือ Dis information Mal-information Mis- information เราให้มาอยู่ในประเด็นนี้ จะทำเป็นหนังสั้น  Tik-tok, YouTuber เพื่อที่จะรับมือกับภัยออนไลน์ทั้งหลาย จริง ๆ ก็เป็นการกำหนดประเด็นที่ล้อกับภัยทางสังคมที่เกิดขึ้นอยู่ 

ประเด็นที่ 3 พูดกันเยอะ และปีที่แล้วเราก็ทำ คือ การใช้สื่อเพื่อสร้างเศรษฐกิจจากทุนวัฒนธรรม หรือ Soft Power  ปีนี้เราเปิดให้เป็นประเด็นสำคัญ นี่คือ 3 ประเด็นหลัก 

ส่วนประเด็นที่ 4-5-6  นอกจากได้ Content แล้วเราอยากได้รูปแบบของสื่อด้วย เพราะฉะนั้น ประเด็นที่ 4 เราอยากได้รูปแบบรายการ จะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หรือออนไลน์ ไปคิดมา แต่เราอยากได้ Program for child ประเด็นที่ 5 เราอยากทำซีรีย์ ละครชุด อย่างน้อยกองทุนควรมีทุกปี เป็นละครชุดส่งเสริมความงดงาม จริยธรรมในสังคม ส่วนประเด็นที่ 6 เราต้องการทำภาพยนตร์ ซึ่งเราทำมา 2-3 ปีเห็นพลังของมัน ตั้งแต่ หนุมาน White Monkey , A time to Fly ปลายปีนี้เราก็จะเปิดตัวหนัง พระร่วง ราชาผู้ทรงธรรม  ทั้ง 6 ประเด็น เราตกผลึก แจ่มชัด หวังผลลัพธ์ในกลุ่มเชิงยุทธศาสตร์คาดหวังสูงมาก 

ส่วนทุนประเภทที่ 3 เป็นทุนเชิงความร่วมมือกับหน่วยงานที่เราทำงานร่วมกันหลายหน่วยงานที่ช่วยกันทำงานเหนียวแน่น ร่วมหัวจมท้ายขับเคลื่อนด้วยกัน เราก็อยากให้เขาเป็นส่วนหนึ่งของเราก็เปิดช่องให้เขามาขอทุน อันนี้เป็นสาระสำคัญของปี 67 ที่กำลังประกาศอยู่

การขอทุนสร้างภาพยนตร์ที่ผ่านมา จัดสรรให้ 30 ล้านก็โดนวิพากษ์วิจารณ์กันแล้ว

ต่างประเทศทำไม่ได้น่ะ ต้อง 100 ล้านขึ้น แต่ประเทศไทย เราไม่มีเงิน ก็พยายามทำงานภายใต้ข้อจำกัด  3 ล้านยังทำหนังสั้นได้ 10 ล้านกว่าก็ทำหนังยาว A Time to fly ก็ 10 ล้านกว่า หนุมาน White Monkey ต้องใช้เทคนิคเยอะ เราก็เปิดทางให้เขาไปหาแหล่งทุนสนับสนุนจากที่อื่นมารวมได้ เราก็มีความยืดหยุ่น ดังนั้นเราไม่กำหนดวงเงิน ดูที่คุณภาพโครงการ


มีข้อเสนอจากหลายภาคส่วนว่า ผลงานดี ๆ ของกองทุนสื่อฯ มีปัญหาเรื่องช่องการเข้าถึงของประชาชน

ต่างประเทศทำไม่ได้นะ ต้อง 100 ล้านขึ้น แต่ประเทศไทย เราไม่มีเงิน ก็พยายามทำงานภายใต้ข้อจำกัด  3 ล้านยังทำหนังสั้นได้ 10 ล้านกว่าก็ทำหนังยาว A Time to fly ก็ 10 ล้านกว่า หนุมาน White Monkey ต้องใช้เทคนิคเยอะ เราก็เปิดทางให้เขาไปหาแหล่งทุนสนับสนุนจากที่อื่นมารวมได้ เราก็มีความยืดหยุ่น ดังนั้นเราไม่กำหนดวงเงิน ดูที่คุณภาพโครงการ

 
มีข้อเสนอจากหลายภาคส่วนว่า ผลงานดี ๆ ของกองทุนสื่อฯ มีปัญหาเรื่องช่องการเข้าถึงของประชาชน

เป็นหัวใจที่เรากำลังคิด ประการแรกคือ ร่วมมือกับ Platform ที่มีอยู่แล้ว Netflix เราก็กำลังเจรจาอยู่ ที่ผ่านมาเราก็เคยขายไปบางเรื่อง เช่น Animation เรื่อง เพื่อนรักใต้ทะเล  ตอนนั้นเรายังไม่มีอำนาจต่อรอง แต่เราจะเริ่มเจรจาให้มีผลตอบแทนทางธุรกิจที่เป็นธรรม แล้วหนังเราต่อให้เนื้อหาไม่ใช่แนวตลาด เนื้อหาเป็นแนวสาระ แต่จริง ๆ หนังเราก็ฉายได้ มีความสนุก A time to Fly เนื้อหามีความสนุกด้วย เราเชื่อว่า  Product เราขายได้ การขยับไป Platform ต่าง ๆ อย่าง หนุมาน White Monkey คนบอกหาดูไม่ได้เลย ทางทรูวิชั่นก็จะจัดฉายให้เรา 3 รอบ แล้วเราจะหาทางอื่นอีก ส่วนในระยะยาวเราคิดอยู่ว่า ทาง กสทช. อยากจะทำ National Streaming Platform เราก็คิดว่าจะไปสนับสนุนเรื่อง Content เราไม่ต้องลงทุนเรื่อง Infra-Structure อีก แต่ถ้าเขายังไม่ทำ เราก็ลอง Platform ที่มีอยู่หรือจะพัฒนาขึ้นมาเอง 

3 ปีกว่าในการอยู่ในวาระผู้จัดการ ซึ่งเหลืออีก 9 เดือน มีความเปลี่ยนแปลงจากเดิมและจะเป็นทิศทางของกองทุนสื่อฯ เรื่องการให้ทุนในอนาคตอย่างไร

ผมรับตำแหน่งปี 63 ทุนปี 63 ผมทำ 3 เดือน เข้ามา 1 ก.ค. ตอนนั้นทุนยังไม่ได้ออกประกาศ วิธีการของเราทำแบบวิธีพิจารณางบประมาณ ถ้างบประมาณ 3 เดือนทำได้ เราก็ทำได้  เราองค์กรเล็กนิดเดียวงบ 500 ล้าน เทียบกับงบประมาณแผ่นดิน 3 ล้านล้าน ทำไมเขาทำได้  เข้าไปครั้งแรก ชงประกาศเข้าบอร์ดเลย ซึ่งสาระไม่ต่างจากปีเก่ามากนักอิงปีที่ผ่านมาแล้วปรับนิดหน่อย พอบอร์ดอนุมัติ เราทำไทม์ไลน์ ปีนั้นเป็นปีแรกและเป็นปีเดียวที่ประกาศขึ้นอยู่บนออนไลน์แค่ 15 วัน เพราะถ้าประกาศนานจะไม่สามารถอนุมัติทุนได้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ  แต่ในช่วงเวลาสั้น ๆ นั้นเราประชาสัมพันธ์อย่างหนัก คนรับรู้ทั่วบ้านทั่วเมือง เป็นปีที่คนขอทุนมากที่สุด 1,600 กว่าโครงการมูลค่า 5,700 ล้าน และเราสามารถสร้างกระบวนการกลั่นกรองพิจารณาเสร็จก่อน  30 กันยายน เป็นปีที่ท้าท้ายมาก 

 
ถ้าตอนนั้นไม่ทันจะมีผลกระทบอะไร

การใช้จ่ายงบประมาณ ปี 63 สอบตก แต่เนื่องจากเราอยู่ในไตรมาสสุดท้าย เราต้องรับผิดชอบ ดังนั้นเราสอบตกไม่ได้ ผลประเมินเบิกจ่ายจาก 1 พรวดขึ้น คะแนนประเมินรวมจาก 3.6 ขึ้นเป็น 4.7 หลังจากนั้นก็วางไทม์ไลน์ให้ชัดเจน และทุกอย่างเป็นมติบอร์ดหมด ดังนั้นวันหนึ่งเราจะอยู่ต่อหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น เพราะหลักถูก SET ไว้หมดแล้ว

 
3 ปีกว่าที่ผ่านมาคิดว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงสำหรับกองทุนสื่อฯ

คนรู้จักเรามากขึ้น คนที่สงสัย มีข้อกังขาในกระบวนการให้ทุน วันนี้ลดลง เพราะเราเชื่อว่า เราเปิดเผยทุกกระบวนการ อย่างปีที่แล้ว หลังประกาศทุน มีคนร้องขอดูข้อมูล 17 ราย เราทำหนังสือเชิญมาสำนักงาน ให้ดูทั้งหมด ก็ไม่ได้ติดใจ การที่คนรู้จักมากขึ้น ก็คาดหวังเรามากขึ้นอยากให้กองทุนทำอะไรในเสกลที่ใหญ่ขึ้น เช่นเราเชิญนักเขียนบทเกาหลีมาอบรมนักเขียนไทย คนที่เข้าร่วมฟังเป็นนักเขียนบทแนวหน้าของประเทศทั้งนั้นเลย เขาเข้าเพราะเขาไม่ทำตัวเป็นน้ำชาล้นถ้วย เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดของเราคืออยากไปจัดให้กับคนที่สนใจในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น ต่อไปเมื่อ Content ขายได้ ก็จะเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับคนทำ Content ซึ่งความสำเร็จจะเป็นเรื่องของความร่วมมือระหว่างผู้รับทุนและกองทุนฯ เราไม่ได้ถือสิทธิ์อยู่ฝ่ายเดียว

 

ดังนั้นในปีนี้เรามีการปรับโครงสร้างภายในสำนักงานกองทุนใหม่จาก 8 ฝ่ายเป็น 9 ฝ่าย เราเพิ่มส่วนงาน ฝ่ายพัฒนามูลค่าเพิ่มและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ เพราะเราต้องการให้การทำงานของกองทุนครบ จบทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ หน้าที่ของฝ่ายนี้คือ เอา Content ที่เรามีอยู่ไปขายไปเผยแพร่ให้คนเข้าถึงและใช้ประโยชน์