กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับสวนดุสิตโพล สำรวจความคิดเห็นเด็กและเยาวชนในหัวข้อ ‘วันเด็กแห่งชาติ’ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จากกลุ่มตัวอย่างเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ 21,627 คน ปรากฏผลสำรวจที่ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมชนิดที่ต้องเรียกว่า รวดเร็ว ซับซ้อนและหลากหลาย
ย้อนไปเปรียบเทียบกับผลสำรวจที่กระทรวงวัฒนธรรมกับสวนดุสิตโพลทำเมื่อปี 2566 แค่ปีเดียวความแตกต่างสะท้อนความเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่ง
ปี 2566 ผลสำรวจเรื่องกิจกรรมที่อยากให้จัดในงานวันเด็ก อันดับ 1 ร้อยละ 52.96 การเล่นเกมชิงรางวัล / อันดับ 2 ร้อยละ 39.63 วาดภาพ ระบายสี / อันดับ 3 ร้อยละ 38.42 การแข่งขันตอบปัญหา ส่วนสถานที่สนใจเข้าร่วมงานวันเด็ก อันดับ 1 ร้อยละ 49.79 โรงเรียน / อันดับ 2 ร้อยละ 38.07 หน่วยงานราชการ / อันดับ 3 ร้อยละ 36.71 สวนสนุก-สวนสัตว์ / อันดับ 4 ร้อยละ 27.03 พิพิธภัณฑ์ / อันดับ 5 ร้อยละ 15.85 สนามกีฬา
ปี 2567 เด็กและเยาวชนต้องการเข้าร่วมกิจกรรมในงานวันเด็กแห่งชาติ 5 อันดับแรก คือ อันดับ 1 ชมการแสดงคอนเสิร์ต / การแสดงดนตรี ร้อยละ 49.35 อันดับ 2 การเล่นเกมชิงรางวัล ร้อยละ 43.50 อันดับ 3 ชมภาพยนตร์ ร้อยละ 42.35
ปี 2566 ปัญหาเร่งด่วนที่ควรหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา เพื่อประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน อันดับ 1 ร้อยละ 25.54 ปัญหายาเสพติด / อันดับ 2 ร้อยละ 24.32 ปัญหาเกี่ยวกับการเรียน-การศึกษา / อันดับ 3 ร้อยละ 22.44 ปัญหาการใช้ความรุนแรง
ปี 2567 ผลสำรวจได้สอบถามถึงความเห็นต่อปัญหาของเด็กและเยาวชนที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน 5 อันดับแรก คือ อันดับ 1 ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 30.10 อันดับ 2 ปัญหาเกี่ยวกับการเรียน / การศึกษา ร้อยละ 18.91 อันดับ 3 ปัญหาการใช้ความรุนแรง เช่น การทำร้ายร่างกาย / จิตใจ, การล่วงละเมิดทางเพศ ร้อยละ 15.70 อันดับ 4 ปัญหาเด็กติดเกม ร้อยละ 11.27 อันดับ 5 ปัญหาการเลียนแบบพฤติกรรมจากสื่อสังคมออนไลน์ ร้อยละ 9.48
ปี 2566 วันเด็กอยากได้อะไรเป็นของขวัญวันเด็กมากที่สุด อันดับ 1 ร้อยละ 31.00 เงิน-ทุนการศึกษา / อันดับ 2 ร้อยละ 25.21 ของเล่น-ตุ๊กตา และอันดับ 3 ร้อยละ 15.15 ขนม-ของกิน
ปี 2567 ความต้องการของขวัญในวันเด็กมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ อันดับ 1 เงิน ร้อยละ 29.38 อันดับ 2 โทรศัพท์มือถือ / iPad / โน้ตบุ๊ก ร้อยละ 24.82 อันดับ 3 ไปเที่ยวกับครอบครัว ร้อยละ 13.96 อันดับ 4 อุปกรณ์เครื่องเขียน ร้อยละ 6.80 อันดับ 5 อุปกรณ์กีฬา ร้อยละ 6.00
ผลสำรวจ ปี 2567 ที่ไม่มีการถามในปี 2566 แต่สะท้อนอะไรหลายอย่างคือ คำถามว่า บุคคลที่เด็กและเยาวชนต้องการพบเจอมากที่สุดในงานวันเด็กแห่งชาติ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 73.57 ได้แก่ ศิลปิน / นักร้อง / นักดนตรี เช่น ลิซ่า, วง Three Man Down, วง BLACKPINK, เจนนี่ ได้หมดถ้าสดชื่น และวง BTS เป็นต้น อันดับ 2 ร้อยละ 59.11 ได้แก่ ยูทูเบอร์ / อินฟลูเอ็นเซอร์ เช่น SPD, เก๋ไก๋ สไลเดอร์, zbing z., My Mate Nate และคิวเท โอปป้า เป็นต้น อันดับ 3 ร้อยละ 34.49 ได้แก่ ดารา / นักแสดง เช่น ณเดชน์ คูกิมิยะ, อั้ม พัชราภา, ญาญ่า อุรัสยา, จี๋ สุทธิรักษ์ และ มาริโอ้ เมาเร่อ เป็นต้น อันดับ 4 ร้อยละ 30.24 ได้แก่ นักการเมือง เช่น พิธา ลิ้มเจริญรัตน์, เศรษฐา ทวีสิน, พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา, ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และ ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้น อันดับ 5 ร้อยละ 29.23 ได้แก่ นักกีฬา เช่น เจ ชนาธิป, คริสเตียโน โรนัลโด, เทนนิส พาณิภัค, บัวขาว บัญชาเมฆ และ ลิโอเนล เมสซี เป็นต้น
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมกล่าวว่า จะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของเด็กและเยาวชนเสนอต่อสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ขณะที่ ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า ข้อมูลจากการสำรวจเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสื่อฯ มีหลายประเด็นน่าสนใจ เรื่องแรก คือ พฤติกรรมเปิดรับสื่อ การใช้สื่อ การเข้าถึงสื่อ รวมถึงค่านิยมทัศนคติ ปีนี้จะเห็นชัดเจนว่า เด็กเป็นแฟนคลับตัวยงศิลปินดังๆ ทั้งในและต่างประเทศ ในคอนเสิร์ตใหญ่ๆ จะเห็นเด็กไปถือป้ายเป็นแฟนคลับชัดเจนเหนียวแน่นและมี Royalty สูง อันนี้เป็นปรากฏการณ์ที่อาจจะไม่เคยเห็นในยุคก่อน การให้ความสนใจนักร้องศิลปิน เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่ที่น่าสังเกตคือ บทบาทของยูทูเบอร์หรืออินฟลูเอ็นเซอร์ มีมากกว่าดารานักแสดง เพราะดารานักแสดง จะนำเสนอบทบาทผ่านละคร ภาพยนตร์ ซึ่งช่องทางนี้ยังเป็นสื่อเก่าอยู่ เช่น โทรทัศน์ การดูย้อนหลังผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์คิดว่ายังไม่เท่าไหร่ ความต่อเนื่องในการดูก็อาจไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคของคนรุ่นใหม่ การดูดาราดังแสดงละครในโทรทัศน์กับการดูยูทูเบอร์ที่เขาชอบ การที่เขาให้คะแนนคนกลุ่มนี้มากกว่า สะท้อนถึงอิทธิพลของสื่อออนไลน์ เรียกว่า ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก อันนี้จะเป็นข้อมูลสำหรับหลายฝ่าย ซึ่งในมุมของภาครัฐเองก็ต้องคิดในมุมของการส่งเสริมที่จะให้ความสำคัญกับช่องทางสื่อออนไลน์ ในมุมของภาครัฐที่จะต้องกำกับดูแลก็อาจจะต้องมาดูว่า การกำกับดูแลในสื่อออนไลน์ที่ทำได้ค่อนข้างน้อยต่างจากการกำกับดูแลสื่อโทรทัศน์ที่เข้มงวดมาก อันนี้ปัญหาอยู่ตรงไหนและจะแก้อย่างไร ในแง่คนทำตลาดต้องยอมรับว่า การมาใช้ช่องทางออนไลน์จะได้ผลกว่าสื่อหลักแบบเดิมแล้วค่าใช้จ่ายก็ถูกกว่า นี่คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์สื่อที่เด็กสะท้อนออกมาอย่างตรงไปตรงมา
ดร.ธนกร กล่าวว่า ยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกเช่น วันเด็กอยากทำอะไร อันดับ 3 เด็กอยากดูภาพยนตร์ อันนี้ยืนยันว่า สิ่งที่กองทุนฯดำเนินการมาถูกต้อง สอดคล้องกับกิจกรรมที่กองทุนฯ ดำเนินการ โดยวันเด็กปีนี้ กองทุนฯจัดให้มีการฉายภาพยนตร์ A Time To Fly ให้กับโรงเรียนที่ขอมาหลายโรงเรียน สิ่งที่กองทุนฯ ทำ ฐานข้อมูลรองรับ แม้เด็กอาจจะเข้าถึงสื่อออนไลน์เป็นหลัก แต่สื่อภาพยนตร์ก็ยังให้ความสำคัญ ซึ่งควรได้รับการส่งเสริมให้มากขึ้นต่อไป ทำอย่างไรให้มีหนังเด็กมากขึ้น จะเป็นการ์ตูน แอนนิเมชั่น ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับความนิยมชมชอบของเด็ก สอดแทรกเนื้อหาสร้างสรรค์ลงไป
“ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ คำถามว่า เด็กกังวลเรื่องอะไรในสภาพปัญหาปัจจุบัน พบว่า อันดับ 1 คือ ยาเสพติด ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องถือเอาเรื่องนี้เป็นเรื่อง จริงจัง กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ และที่ทึ่งมากคือ เด็กห่วงใยปัญหา เด็กติดเกม แสดงว่า ปัญหานี้ไม่ใช่ผู้ใหญ่อย่างเดียวที่มองว่าเป็นปัญหา เด็กก็มองว่าเป็นปัญหาด้วย ดังนั้นทางกองทุนฯ ซึ่งทำงานร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมอยู่แล้วจะเอาข้อมูลนี้มาสังเคราะห์เพื่อต่อยอดในทางใดทางหนึ่งที่สอดคล้องกับภารกิจของกองทุนฯ” ดร.ธนกร ระบุ
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |