เมื่อวันที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมา นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567 โดยมีคณะกรรมการ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยประเด็นหนึ่งจากสาระการแถลงข่าวของนายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า คณะกรรมการ เห็นชอบ กรอบวงเงินงบประมาณในการสนับสนุนผู้ประกอบการเข้าร่วมเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศ จำนวน 3 เทศกาล ในวงเงิน 3,000,000 บาท โดยมอบหมายกระทรวงวัฒนธรรมจัดทำคำของบประมาณไปยังสำนักงบประมาณเพื่อขอรับการพิจารณา และมอบสำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณ โดย 3 เทศกาลภาพยนตร์ ประกอบด้วย เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติร็อตเตอร์ดัม ( IFFR ) ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ , เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน และ เทศกาลภาพยนตร์เอเชียโอซาก้า ประเมินว่า การเลือกเดินทางไปร่วม 3 เทศกาลนี้ เนื่องจากจัดในช่วงต้นปีและเพื่อสามารถจะนำมาถอดบทเรียนเป็นข้อเสนอการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยได้เร็วที่สุด
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติร็อตเตอร์ดัม ( IFFR ) ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2515 มี Hubert Bals เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ โดยในครั้งแรกที่จัดใช้ชื่อว่า เทศกาล “อินเตอร์เนชั่นแนลฟิล์ม” มีโลโก้ เป็นรูปเสือ ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากโลโก้สิงโตของค่ายหนังสัญชาติอเมริกัน Metro Goldwyn Mayer Studios Inc.หรือ ค่าย MGM
Hubert เดิมตั้งเป้าหมายว่า เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติร็อตเตอร์ดัม จะเป็นกิจกรรมเพื่อสนับสนุนภาพยนตร์ทางเลือก สร้างสรรค์ และไม่ใช่เชิงพาณิชย์ โดยเน้นการสนับสนุนภาพยนตร์จากประเทศตะวันออกไกลและประเทศกำลังพัฒนา โดยประมาณปี พ.ศ.2526 มีการก่อตั้ง CineMart เพื่อ เปิดโอกาสให้มีการผลิตภาพยนตร์ร่วมกันระหว่าง ผู้สร้างและ IFFR เพื่อพัฒนาผลงานให้สามารถนำไปขายในตลาดภาพยนตร์ได้
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติร็อตเตอร์ดัม ครั้งที่ 53 ซึ่งจะจัดระหว่างวันที่ 25 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2567 มีภาพยนตร์ไทยที่ได้รับเลือกให้นำไปฉาย คือ ‘เพื่อน(ไม่)สนิท’ ของ อัตตา เหมวดี และ แดนสาป ของ ภาณุ อารี
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน หรือ เทศกาล Berlinale ถือเป็นหนึ่งในเทศกาลภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ดึงผู้คนจากประเทศต่างๆทั่วโลกนับหมื่นคนต่อปี จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2494 ในช่วงเริ่มต้นของสงครามเย็น เพื่อเป็น “showcase of the free world” ก่อรูปก่อร่างในยุคที่สังคมกำลังวุ่นวายปั่นป่วนหลังช่วงสงคราม สถานการณ์ที่ประเทศถูกแบ่งแยก เทศกาล Berlinale พัฒนาตัวตนขึ้นมาเพื่อเป็นพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรม พัฒนาให้กลายเป็นสถานที่แห่งการแลกเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรม และเป็นพื้นที่สำหรับวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นเชิงสังคมในวงการภาพยนตร์
เทศกาล Berlinale เคลมว่า ตนเองเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่ตระหนักถึงประเด็นเชิงการเมืองมากกว่าเทศกาลภาพยนตร์อื่นๆ และจะมีส่วนอย่างสำคัญในการผลักดันนวัตกรรม และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ที่ผ่านมาภาพยนตร์จากประเทศไทย อย่าง นางทาษ ของละโว้ภาพยนตร์ กำกับโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ถือเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่เข้าประกวดเมื่อ พ.ศ. 2504 ถัดจากนั้นก็มีภาพยนตร์เรื่อง แพรดำ ของหนุมานภาพยนตร์ กำกับโดยรัตน์ เปสตันยี เป็นเรื่องที่สองที่เข้าประกวด ใน พ.ศ. 2505
เมื่อปีที่ผ่านมา มีภาพยนตร์ Mangosteen ของ ตุลพบ แสนเจริญ และ Trip After ของ อุกฤษณ์ สงวนให้ เข้าร่วมประกวด
เทศกาล Berlinale ครั้งที่ 74 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 – 25 กุมภาพันธ์ 2567
เทศกาลภาพยนตร์เอเชียโอซาก้า เป็นเทศกาลภาพยนตร์ประจำปี ที่จัดขึ้นในเมืองโอซาก้า จังหวัดโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น โดยครั้งแรกที่เริ่มจัดคือเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งทางประเทศเกาหลีเริ่มประสบความสำเร็จในการสร้าง Korean Wave ส่งออกวัฒนธรรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 ได้ร่วมกับประเทศญี่ปุ่นจัดเทศกาลภาพยนตร์บันเทิงเกาหลี เพื่อเฉลิมฉลองการครบรอบ 40 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ โดยจัดเทศกาลดำเนินการต่อเนื่องทุกปี และเริ่มมีหลายประเทศในเอเชียนำภาพยนตร์ของตนเองเข้าร่วม เช่น จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และไทย ดังนั้นในปี พ.ศ. 2559 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น เทศกาลภาพยนตร์เอเชียโอซาก้า
เทศกาลภาพยนตร์เอเชียโอซาก้า มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและแลกเปลี่ยนทรัพยากรมนุษย์ กระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มสีสันให้กับเมืองโอซาก้า ตลอดจนการเป็นส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเอเชีย ซึ่งทางญี่ปุ่นต้องการวาง โพสิชั่นให้โอซาก้า เป็น gateway ของภาพยนตร์อาเซียน
สำหรับประเทศไทยที่ผ่านมาก็มีภาพยนตร์ไทยที่ถูกนำไปฉายในเทศกาลนี้ต่อเนื่อง อาทิ 4 KINGS, Cloud Cuckoo Country ของ เอมอัยย์ พลพิทักษ์ ที่เคยไปได้รางวัล ก็มีอาทิ ฮาวทูทิ้ง..ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ ของ นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ซึ่งได้รับรางวัล BEST Picture Award
สำหรับปี 2567 เทศกาลจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-10 มีนาคม 2567 รายละเอียดของงานจะมีการแจ้งในช่วงประมาณปลายเดือนมกราคม 2567
ในรายงานชิ้นก่อนหน้านี้ Media Trust Thailand เคยนำเสนอมุมมองของภาณุเทพ สุทธิเทพธำรง ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Blood Song หรือโลหิตรำพัน ซึ่งกล่าวไว้น่าสนใจว่า ตัวอย่างของหลายประเทศที่มุ่งมั่นสนับสนุนคนในวงการภาพยนตร์ นอกจากการไปร่วมเทศกาลแล้วยังจะต้องร่วมกันผลักดัน การนำคนไทยเข้าไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในวงการภาพยนตร์ การร่วม Workshop การนำผลงานไปเสนอขายตาม Film Market ซึ่งภาณุเทพ ระบุว่า “เมื่อเข้าไปอยู่ใน loop แล้ว จะสามารถต่อยอดได้เรื่อยๆ ไม่ได้จบแค่เอาหนังไปโชว์”
แน่นอนว่า การเดินทางไปร่วมเทศกาลภาพยนตร์ทั้ง 3 เทศกาล ย่อมนำมาซึ่งความคืบหน้าในนโยบายและแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย แต่ก็ต้องขีดเส้นใต้ว่า ในมุมของผู้คนในวงการภาพยนตร์ ย่อมไม่ต้องการเพียงแค่การหาช่องทางนำภาพยนตร์ไทยไปประกวดในเทศกาลระดับโลกเท่านั้น แต่พวกเขาต้องการการสนับสนุนต่อยอด องค์ความรู้ ทุน และช่องทางการตลาด ขณะเดียวกันในมุมของระดับนโยบาย จะเดินไปถึงหรือไม่ กับการเป็นประเทศที่สามารถจัดเทศกาลหนังนานาชาติ ที่ดึงคนเข้าประเทศเป็นหมื่นๆ คนต่อปี
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |