“เราไม่มีทางรู้เลยว่า สิ่งที่เห็นเป็นของจริงหรือเปล่า”
คุณโชค วิศวโยธิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัณฑิต เซ็นเตอร์ จํากัด ผู้บริหาร Kapook.com เปิดประเด็นการบรรยายเรื่อง “AI ผู้ช่วยบริหารกับการจัดการมืออาชีพ”
เป็นส่วนหนึ่งของงานเสวนา “Bridging Humanity and AI” จะเป็นอย่างไร เมื่อปัญญามนุษย์และปัญญาประดิษฐ์ร่วมมือกันสร้างสรรค์สื่อ จัดโดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อเร่งพัฒนาบุคลากรในวงการสื่อให้เตรียมรับมือเทคโนโลยี AI (Artificial intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ที่ก้าวมาสู่สังคมดิจิทัลอย่างรวดเร็ว โดยมีกลุ่มผู้ผลิตสื่อ เช่น สื่อมวลชน, สื่อออนไลน์, คอนเทนครีเอเตอร์ เข้าร่วมรับฟังข้อมูลและความรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ที่มาให้ความรู้ตลอด 2 วันเต็ม
คุณโชคยกตัวอย่างเหตุการณ์ใกล้ตัว ที่เขาถ่ายภาพห้องๆ หนึ่งในบ้านตัวเอง แล้วส่งเข้าโปรแกรมออกแบบด้วย AI เพียงไม่ถึง 60 วินาที ก็ได้ภาพการออกแบบห้องใหม่ออกมา เมื่อนำไปให้นักออกแบบคนแรกดูก็ถึงกับถอดใจว่าคงตกงานแน่เพราะเห็น AI เป็น “ภัยคุกคาม” แต่นักออกแบบอีกคนหนึ่งกลับมองว่านี่คือโอกาสที่จะได้ AI มาเป็น “ผู้ช่วย” ทำให้งานออกแบบคล่องตัวขึ้น
“ปฏิเสธไม่ได้ว่าขณะนี้ AI ได้เข้ามาอยู่ในทุกขั้นตอนการผลิตสื่อแล้ว ตั้งแต่ระดับบุคคลไปถึงองค์กร ที่ไหนมีอินเตอร์เน็ต ที่นั่นก็มี AI”
ในฐานะผู้บริหารองค์กรสื่อ เขามองว่าการมาถึงของ AI เหมือนการเปลี่ยนผ่านในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เครื่องจักรเข้ามาทำงานแทนมนุษย์ ปัจจุบัน AI ก็ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำงานแทนมนุษย์
และอีก 10 ปีข้างหน้า ไม่มีอาชีพไหนที่จะรอดจากผลกระทบนี้ อย่างไรก็ตามเขาเชื่อว่า AI ไม่มีทางแทนที่มนุษย์ได้ แต่เป็นผู้ช่วยของมนุษย์มากกว่า
บนเวทีบรรยายเขาทดลองสร้าง presentation ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปภายในเวลาไม่กี่นาที และอธิบายว่าสิ่งที่แตกไปจากมนุษย์ คือ AI ยอมรับคำวิจารณ์ให้แก้ไขปรับปรุงงานได้ โดยไม่มีอารมณ์ตอบโต้ และยังสามารถนำเสนองานแทนมนุษย์ได้ด้วย โดยเขาเลือกร่างของ AI เป็นหญิงสาวสวยเพื่อนำเสนองานที่เพิ่งออกแบบไปไม่กี่นาทีก่อนหน้า พนักงานหญิง AI คนนี้พูดได้กว่า 120 ภาษา เลือกสำเนียงของแต่ละภาษาได้ตามสคริปต์และคำสั่งที่ใส่ลงไป
นอกจากนี้ AI ยังช่วยขายสินค้าให้ด้วยการทำ “โฆษณา” เพียงใส่รูปภาพสินค้าลงไปพร้อมคุณสมบัติ โปรแกรม AI ที่ชื่อ Human supervision ก็จะประมวลผล ตกแต่งภาพ และเลือกประเภทสื่อเพื่อสร้างพื้นที่โฆษณาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมดนี้ใช้เวลาไม่ถึง 10 นาที
“แม้จะใช้เครื่องมือ AI แต่ทั้งหมดก็ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของมนุษย์”
แม้ AI จะช่วยให้การทำงานง่ายดายเพียงปลายนิ้ว แต่ในสายพานการผลิตยังคงต้องมีมนุษย์เพื่อตอบสอบความถูกต้อง เขายกตัวอย่าง ChatGPT ซึ่งเป็น generative AI ที่มาแรงในพ.ศ.นี้ แต่ข้อมูลต่างๆ ที่ถูกประมวลผลออกมายังมีโอกาสคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง โดยเขาทดลองใส่คำถามเข้าไปใน Chat GPT เรื่องการกินยาแก้ปวดหัวชื่อ “พาราเซตามอล” ก็ได้คำตอบว่า “ไม่เกิน 4 กระปุกต่อวัน” ซึ่งเป็นปริมาณที่มากเกินจริง ดังนั้นการใช้ข้อมูลในโปรแกรมเหล่านี้ จึงต้องตรวจสอบอีกขั้นหนึ่ง
เพราะปัญญาประดิษฐ์ก็มีข้อจำกัด ดังนั้นผู้ใช้งานต้องมีทักษะเพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่
1 เข้าใจโจทย์ หรือเป้าหมายของงานอย่างแท้จริง เพื่อจะได้ใส่คำสั่งได้ถูกต้อง
2. เข้าใจข้อจำกัดของ AI โดยเฉพาะความคลาดเคลื่อนของข้อมูลและข้อเท็จจริง
3. เข้าใจภาษาอังกฤษ เนื่องจาก AI ที่ถูกพัฒนาในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดด้านภาษาไทย
4 เข้าใจวิธีการสื่อสารกับ AI โดยใช้คำสั่งที่ชัดเจน กระชับ รัดกุม
5. มีความรู้ในสิ่งที่ให้ AI ทำงาน เพื่อให้ใส่ข้อมูลและคำสั่งถูกต้อง และตรวจสอบความถูกต้องของผลงานที่ได้
6. Ai ต้องช่วยต้องลดเวลาการทำงาน ไม่ใช่เพิ่มภาระการทำงาน
เขายกตัวอย่าง AI ที่โดดเด่นในปี 2566 นี้ โดยผู้พัฒนา 4 ราย ได้แก่ OpenAI กับ GPTs , Meta กับ AI Assistant , Microsoft กับ Copilot และ Google Assistant กับ Bard ซึ่งแต่ละตัวจะมีจุดขายแตกต่างกันดังนี้
Bard ทำหน้าที่ดึงข้อมูลทั้งหมดใน google มาย่อและสรุปให้ผู้ใช้งาน เช่น วางแผนการเดินทาง จองเที่ยวบิน เลือกที่พัก เป็นต้น
Copilot เป็นโปรแกรมแชทที่รองรับคำสั่งการทำงานทุกชนิดบน windows จนเหมือนมีผู้ช่วยอีกคนอยู่ในคอมพิวเตอร์ และเปลี่ยนบทบาทของมนุษย์จากผู้ลงมือทำ ให้เป็นเพียงผู้ตรวจสอบงาน
AI Assistant ของ Meta ซึ่งมีฐานลูกค้าบน facebook จะทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ช่วย เพื่อน ไลฟ์โค้ช รวมถึง 28 หน้าที่ในโปรแกรมเดียว
GPTs ซึ่งเป็น AI แบบสนทนา ที่สามารถสำรวจ ประมวลผล สรุปข้อมูลทั้งหมดในโลกออนไลน์ มานำเสนอ ตามคำสั่ง ไม่ว่าจะเป็นบทความ ภาพประกอบ หรือคอนเทนต์อื่นๆ
เขาเสนอว่าถึงเวลาแล้วที่ผู้บริหารองค์กรสื่อ ควรเปลี่ยนกระบวนการทำงานที่คุ้นชิน เพื่อใช้ความรวดเร็วและแม่นยำของ AI เข้ามาช่วยสร้างสรรค์งานมากขึ้น โดยยกตัวอย่าง Kapook.com ที่ตนบริหารอยู่ ซึ่งใช้ AI วิเคราะห์พฤติกรรมผู้ติดตามทุกวัน และนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับเนื้อหานำเสนอ ทำให้ได้จำนวนผู้ติดตามมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะสามารถสร้างคอนเทนต์ได้ตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นนั่นเอง
อย่างไรก็ตามเขาทิ้งท้ายด้วยข้อคิดเรื่อง A.I. Dilemma ของอดีตผู้บริหารด้านจริยธรรมของ google.com ที่มองว่าการเปลี่ยนผ่านรอบแรกคือยุคกำเนิดโซเชียลมีเดีย ที่ทำให้ผู้คนเสพติดโซเชียลมีเดีย จนเกิดความขัดแย้งกัน มีความเห็นสุดโต่ง จึงถือว่ามนุษย์พ่ายแพ้ในรอบแรก ส่วนรอบที่ 2 คือยุค AI Generative ที่สร้างข้อมูลได้อย่างน่ากลัว เกิดคำว่า Fake everything เพราะแยกไม่ออกระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับฝีมือของ AI
“ทุกวันนี้แม้แต่ “เสียง” ของมนุษย์ ก็ยังถูกขโมยไปสร้างตัวตนปลอมในโลก AI ได้ ดังนั้นในปีหน้าเราจะได้เห็นความเข้มข้นของกฎระเบียบต่างๆ ที่จะออกมาเพื่อควบคุมการใช้ AI ในธุรกิจสื่อมากขึ้น” คุณโชคกล่าวทิ้งท้าย
กิจกรรมเสวนาในครั้งนี้ นอกจากเป็นการติดอาวุธให้คนทำสื่อ การเข้าใจและใช้เป็นเครื่องมือ AI แล้ว ยังสร้างความเท่าทันการใช้เครื่องมือต่างๆ ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ภายใต้ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสรรค์
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |