ศึกษากรณี หนัง Blood Song กับการส่งเสริม Content Creator ตีตลาดโลก

ภาพยนตร์เรื่อง Blood Song หรือโลหิตรำพัน ดัดแปลงจากนิยายภาพของ Eric Drooker ศิลปินชาวอเมริกันผู้ชนะรางวัล American Book Award 

ภาณุเทพ สุทธิเทพธำรง จาก Zati Studio ได้ลิขสิทธิ์เรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2557 และนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ โดยนำประสบการณ์ด้านอนิเมชั่นร่วม 20 ปี มาใช้ในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์มีความใกล้เคียงกับนิยายภาพต้นฉบับมากที่สุด

Blood Song เป็นภาพยนตร์เงียบขาวดำ ที่ไม่มีบทสนทนาของตัวละคร แต่อาศัยท่าเต้นและการสื่ออารมณ์ของนักแสดง ในการบอกเล่าเหตุการณ์ผสมผสานกับเทคนิคการซ้อนภาพ ระหว่างนักแสดงจริงและฉากที่สร้างขึ้น รวมทั้งใช้แสงเงาและดนตรีบรรเลง เพื่อให้เป็นสื่อสากลที่สามารถเข้าถึงคนทุกชาติทุกภาษาได้มากที่สุด

ภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้รับทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ความพิเศษของหนัง Blood Song คือใช้เทคโนโลยี Unreal Engine ในการถ่ายทำ ทำให้สร้างฉากที่มีความละเอียดสูงได้ในเวลาอันรวดเร็ว สามารถลดต้นทุน ทั้งในส่วนของเครื่องมือ อุปกรณ์ บุคลากร จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับผู้สร้างสรรค์งานภาพยนตร์รุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี

ภาณุเทพ ได้บอกเล่าที่มาและเส้นทางการสร้างหนัง Blood Song ในงานเสวนา Creator talk ในหัวข้อ ‘การสร้างสรรค์ผลงานบนโลกเสมือน’ ซึ่ง ESIC Lab เปิดเวทีให้วงการ Virtual Production ของไทย ได้นำเสนอข้อมูล วิธีการปรับตัวสู่เทคโนโลยีใหม่ ปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการทำงานจริง รวมถึงความสำเร็จที่เกิดขึ้น ซึ่งเนื้อหาจากเวทีพูดคุยมีสาระที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับการพัฒนาวงการภาพยนตร์ไทยในยุคที่ Soft Power ของไทยกำลังเบ่งบาน

 
จุดเริ่มต้นของภาพยนตร์ Blood song คืออะไร?

เราเริ่ม Project กันตั้งแต่ 4-5 ปีที่แล้ว ดัดแปลงมาจากนิยายภาพที่ได้ลิขสิทธิ์มาจากอเมริกา  ด้วยความที่เป็นนิยายภาพจึงหาสถานที่ถ่ายทำจริงได้ยากมาก ฉากจริงหาโลเคชันได้ยากมาก ต้องสร้างฉากขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ซึ่งเทคโนโลยีขณะนั้น เราถ่ายคนกับฉากเขียว จาก 4-5 ปีที่แล้วหนังเราเติบโตตามเทคโนโลยี  ตอนแรกฉากเราใช้ Software ปกติทั่วไป คือ พวก Maya หนังเราเป็นหนังทุนอินดี้  ก็เลยมีข้อจำกัด เพราะการใช้ Software Maya จะต้องใช้ทุนสูงมากที่จะทำให้ดูสมจริง มีมิติ แล้วก็เคลื่อนไหว จริงๆ เรามี Version ใช้ Maya ทั้งหมด แล้วมันไม่เวิร์ก ปรากฏว่าเรารื้อใหม่ แต่ก่อนที่เราจะรื้อ เราศึกษาว่า Unreal Engine มันตอบโจทย์ ก็เลยศึกษาเรื่อง Unreal Engine เป็นเทคโนโลยีใหม่ เมื่อก่อนเราเข้าใจว่ามันทำมาซัพพอร์ต เกมส์อย่างเดียว แต่จริงๆ ทำมาซัพพอร์ตภาพยนตร์และแอนิเมชันด้วย เราก็จะเห็น พวก แมนดาโลเรียน ,สตาร์ วอร์ส ใช้ Software ตัวนี้ พอเราใช้ตัวนี้เราทำ Test  ไปให้ Epic Games เราได้ทุนมาเพิ่มจาก epic megagrants เราใช้ทุนนั้นมารื้องานใหม่ทั้งหมดโดยใช้ Unreal Engine แต่กระบวนการจะต่างจาก VR Production ในช่วงแรก เราถ่าย Footage ในฉากเขียวไว้เรียบร้อยแล้วก็มา rotoscope แล้วมาใส่ฉากใน Unreal ทีหลัง เป็นขั้นตอน Post แต่ว่า ช่วงที่เราถ่ายซ่อมอย่างที่บอกว่า มันเติบโตตามเทคโนโลยี เราก็มาเรียนรู้เรื่อง  VR Production ตอนนี้เราไป Co กับ supreme studio เท่าที่ทราบจะมี supreme studio และ real Bangkok ที่มี curved led wall สำหรับ VR Production ตอนนี้เราเตรียมงานที่จะไปทำงานกับ  supreme studio  

ภาณุเทพ สุทธิเทพธำรง จาก Zati Studio

สิ่งที่อยากจะบอก พอพูดถึง VR Production ไม่อยากให้ทุกคนเกร็งว่ามันจะต้องเป็น สเกลใหญ่ หรือว่าแพง เทคโนโลยีตรงนี้มันทำเพื่อที่จะมาเป็นเครื่องมือเราต่างหาก ถ้าเรามีความครีเอทีฟที่เราเห็นภาพชัดเจนว่าต้องการอะไร เทคโนโลยีมันเป็นตัวช่วยเท่านั้นเอง ผมเองก็ลองผิดลองถูกมาแล้ว อย่างที่เห็นภาพเราได้ทุนจาก epic megagrants  หนึ่งแล้วน่ะครับ สองเราส่งตัวอย่างไป ซิกกราฟ (SIGGRAPH – Special Interest Group on GRAPHics and Interactive Techniques) เราได้รับเลือกเข้าฉาย ซิกกราฟ เป็นตัวอย่าง ล่าสุดปีที่แล้วเราส่งตัว rough cut  30 นาที ตลาดฟิล์มมาร์เก็ต far east film festival ที่อิตาลี จาก 100  เรื่องเราเป็น 1ใน 5 เรื่องที่ได้เข้าร่วมในเทศกาลนี้ และได้รางวัลชนะเลิศประเภท 108 Media Distribution Award ก็คือ หนังเรื่องนี้จะได้ผู้จัดจำหน่าย Global ก็ได้คุยกับคณะกรรมการ ข้อดีของมันคือ หนังเราเด่นมาก ส่งมาเป็น 100 เรื่อง มัน stand out มาเลย เพราะเราจะฉีกจากหนังแนวเดิมๆ อย่างที่บอกคือ เราทุนสายหนังอินดี้ แต่ตอนนี้เราจะ Present มันออกมายังไง ก็คือความ Creative เราชัดเจนว่าเราอยากทำอะไร เราใช้เครื่องมือพวกนี้เป็นตัวช่วยในการสร้างสรรค์

 
ในฐานะเป็น Creator คิดว่าจุดแข็งของ Creative Content ประเทศไทยมีอะไรบ้าง

เอาง่ายๆ หนังของผม การที่ผมจับเอานิยายภาพเรื่องนี้ เป็นนิยายภาพของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม เรื่องราวช่วงแรกๆ จะเกิดใน Southeast Asia ต้องหนีระหกระเหินไปอยู่นิวยอร์ก หนังผมเป็นหนังเงียบ ไม่มีบทพูดทุกอย่างสื่อสารด้วยภาพ เพราะฉะนั้น ใน Act แรกเราจะดึงอัตลักษณ์ของความเป็น Southeast Asia  ออกมายังไง เราก็เอาจากประสบการณ์ เอาวัฒนธรรมของเรามา Present ซึ่งตอนนี้เราก็กำลัง Support เรื่อง soft power บังเอิญว่า ผมอยู่อเมริกา มา 5-6 ปี ด้วย เราสามารถใช้ความรู้สึก ความเข้าใจมาถ่ายทอดเป็นงานด้านภาพ ในภาพยนตร์เรื่องนี้สิ่งที่ผมทำได้ก็คือ เราจะสื่อเรื่องวัฒนธรรม ผ่านงานด้านภาพด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้ออกมายังไงให้ชาวโลกได้เห็น ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน แต่เวลาผมคุยกับทีมงานเราตั้งโจทย์ไว้เลยว่าเราต้อง Present วัฒนธรรมไทย แต่เราจะไม่บอกตรงๆ เราจะสื่อยังไงให้มีความสร้างสรรค์ เป็นสากล คนอื่นเข้าใจได้ 


ตอนอยู่อเมริกาทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์หรือเปล่า

20 ปีที่แล้ว เราบุกเบิกทำ อัญญา อนิเมชั่น ทำแอนิเมชัน เรื่อง อภินิหาร นิทาน เวตาล ก่อนจะย้ายไปอยู่อเมริกา 5- 6 ปี จริงๆผมได้ทุนไปเรียนต่อปริญญาเอก พอจบ coursework เราไม่อยากเป็นอาจารย์ เราอยากทำหนัง ก็เลยย้ายไปอยู่แคลิฟอร์เนีย ไปทำภาพยนตร์สารคดี พอดีเราทำได้หลายอย่างในงาน Production ในออฟฟิศเล็กๆ เราสามารถเป็น One Man Show เขาส่งเราไปทิเบต เราถ่ายหนังได้ กลับมาออฟฟิศ ทำ Post Production เองทั้งหมด ได้ 

 
ความโดดเด่นของ Blood Song ที่ทำให้ชนะภาพยนตร์จากประเทศอื่นๆ คืออะไร

อย่างแรกเลย ที่บอกไปแล้วคือ ที่เขาคอมเมนต์มา เรื่องเทคนิคการนำเสนอ จากหนังเป็น 100 เรื่อง หนังเราเขาก็ตั้งคำถามเอ๊ะนี่มันแอนิเมชัน หรือคนเล่น  แต่โดยภาพรวมเขาบอกว่า มัน Present ออกมาอย่างน่าสนใจ แล้วก็ในส่วนของเนื้อหา เรื่องราวอย่างที่บอกไม่มีบท ต้องสื่อสารด้วยภาพ บังเอิญว่าเขา Get ว่าเราต้องการสื่อสารเรื่องอะไร จริงๆ เรื่องนี้เวลาทำงานผมจะซ้อนมิติเอาไว้ เราจะเล่าเรื่องแบบ 1234 เรื่องที่เกิดขึ้นเหตุการณ์จริงแล้วก็เรื่องที่เป็น Sub Content เป็นความรู้สึกของตัวละคร ซึ่งหลายๆอย่างเราดึงจากความรู้สึกของเรามา Present 

Project นี้ใช้คนไม่เยอะด้วย ช่วงถ่ายผมมีวิธีในการทำงาน อย่างเรางบประมาณน้อย ก็ต้องไป Co ตอนนี้ผมทำ MOU กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี และพระเจ้าเกล้าลาดกระบัง ล่าสุดคือ supreme studio ผมตั้งโจทย์ไว้เลยว่า เทคโนโลยีจะช่วยเราประหยัด และทำงานได้เร็วขึ้น ถ้าใช้ Software Maya ผมจะใช้คนเป็น 10 แต่ Unreal Engine ใช้คนเดียวเป็นหลักเลย แล้วข้อดีของเมืองไทยเรามีวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งมาก ถ้าเรา Present ออกมารู้สึกกับมัน จะเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นมากในเวทีโลก 

 

อยากให้ภาครัฐมีส่วนร่วมสนับสนุนอย่างไรบ้าง

Project ผมจริงๆ ก็ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐด้วย คือ ทุนส่วนหนึ่งมาจากจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จาก epic megagrants  และจากการคุยกับคณะกรรมการตอนแรกไม่เข้าใจว่างผมทำอะไร พยายาม Pitch งานก็โดน Reject อยู่หลายปี จนมาล่าสุดปีนี้พอเขาเห็นงานก็เข้าใจ และเริ่มเห็นว่าจะไปยังไงต่อ เปิดใจและยอมรับผลงาน คือเราต้องทำให้เห็น ล่าสุด Present ไป คอมเมนต์แทบไม่มี ส่วนใหญ่จะเป็นคำชม ทีนี้ก็ต้องคิดว่า จะต่อยอดยังไง 234 ผมรู้สึกว่า รัฐบาลมีแผนต่อยอดได้ และเท่าที่ทราบกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งสนับสนุนเรื่อง Soft Power ก็กำลังจะเข้ามาสนับสนุน 

เมื่อต้นปีที่ผ่านมากระทรวงวัฒนธรรมนำหนังของผมไปโชว์ที่เซี่ยงไฮ้ จริงๆจะมีกิจกรรมพวกนี้เยอะ ไปเมืองคานส์ ไม่โน่นไปนี่ ผมไปอิตาลีปีที่แล้ว และในเอเชียไปหลายประเทศ เขาจะมี Japanese Night ,Malaysia Night, Philippine Night  ไม่มี Thai Night ที่ผมประทับใจคือทีมของญี่ปุ่น เขาจะมีตัวแทนรัฐบาลไปด้วยและจะสนับสนุนเด็กรุ่นใหม่ไปเข้า Workshop เขียนบท แล้วรัฐบาลก็จะเอางานไปเสนอตามฟิล์ม มาร์เก็ต ต่างๆ แล้วก็จะได้ทุนจากฟิล์ม มาร์เก็ต เหล่านั้น โดยตัวผมเอง ผมมีนายทุนมาติดต่อ 4-5 เจ้า แต่เนื่องจากผมเป็นทุนลูกครึ่งเป็นทุนรัฐบาลครึ่งหนึ่ง ทำให้เวลาเจรจากับนายทุน ผมไม่สามารถตัดสินทันทีได้ 

ช่องทางฟิล์ม มาร์เก็ต เท่าที่ทราบเขาจะมีทุนให้แต่ละเจ้าประมาณ 2 แสนเหรียญอยู่ที่เราจะคุยได้กี่เจ้าและความน่าสนใจของโปรเจก ซึ่งฟิล์ม มาร์เก็ต เปิดโอกาสให้เราได้ทุนและทำหนังต่อ พออยู่ใน loop มันสามารถต่อยอดได้เรื่อยๆ ไม่ได้จบแค่เอาหนังไปโชว์ อีกเรื่องหนึ่ง ในแง่คนทำหนังเวลาเราได้ทุนรัฐบาล คนในรัฐบาลไม่ค่อยเข้าใจ Business Model เท่าไหร่ ถ้ามีคนสนับสนุนและเข้าใจ Business  ตรงนี้ ผมว่าจะทำให้เราไปได้ไกลและมีประโยชน์กับวงการนี้มากๆ