ช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา โครงการ “สูงวัยหัวใจยังเวิร์ก” ปี 2 ได้จัดกิจกรรมฝึกอบรมออนไลน์ให้กับผู้สูงวัยจากทั่วประเทศกว่าร้อยคนที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม Yold Storyteller : นักเล่าเรื่องออนไลน์วัยเก่า เพื่อสร้างทักษะการสื่อสารออนไลน์, เขียนบล็อก, เล่าเรื่องง่าย ๆ ให้ทรงพลัง
โดยช่วงหนึ่งของการอบรม อ.อาชวิชญ์ กฤษณสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาบรอดแคสต์ติ้งและการผลิตสื่อสตรีมมิ่ง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ “เปิดโลกสื่อมิติการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย” ซึ่งเหมือนการย่อวิชาสาขานิเทศศาสตร์ที่เรียนกัน 4 ปีเต็มมาไว้ใน 2 ชั่วโมงเลยทีเดียว
Media Trust นำเนื้อหาของการบรรยายที่มีประโยชน์สำหรับวัยเก๋าและวัยอื่นๆ ในการสร้างคอนเทนต์มาฝากกัน
อ.อาชวิชญ์ เริ่มจากการให้ข้อมูลว่า สำหรับประเทศไทยแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 3 อันดับแรก ยังคงเป็น Line, Facebook และ YouTube ตามลำดับ
ถ้าคุณเป็นคนสร้างคอนเทนต์ แต่ทำอย่างไรก็ไม่ได้รับการตอบรับอย่างที่ต้องการ อาจเป็นไปได้ว่าการสื่อสารของคุณกำลังมีปัญหา ลองเริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหาและทำเช็คลิสต์ ดังนี้
– กลุ่มเป้าหมายไม่แน่นอน ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าจะสื่อสารกับใคร ทั้งอายุ อาชีพ และความต้องการของคนที่เราจะสื่อสารด้วย
– ช่องทางการสื่อสารมีจำนวนมากเกินไป บางคนพยายามทำสื่อให้ครอบคลุมทุกแพลตฟอร์ม แต่บางช่องทางก็ไม่เหมาะกับเนื้อหาที่นำเสนอ
นอกจากนี้ยังมีปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคของการสร้างคอนเทนต์ ได้แก่ การจับประเด็นหรือเล่าเนื้อหาไม่ครบถ้วน ไม่ชัดเจน , สื่อสารแล้วไม่มีคนสนใจ , ตัวตนไม่ชัดเจน, ไม่เป็นที่รู้จัก, เป้าหมายการสื่อสารไม่ชัดเจน ไปจนถึงขาดกลยุทธ์ในการสื่อสาร
10 เทรนด์มีเดียที่ต้องจับตาในปัจจุบัน
ไฮไลท์ของการอบรมที่ทำให้ผู้เรียนมองเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงของสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน ซึ่งแยกออกเป็น 10 ข้อดังนี้
– ระบบสตรีมมิ่งจะเหมือนการดูทีวีมากขึ้น โดยตลาดการดูสตรีมมิ่งโตขึ้น 57% และผู้ชมยินดีที่จะดูแบบมีโฆษณาคั่น
– ตลาด Influencer ของไทยใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากอินโดนีเซีย และยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง
– คอนเทนต์ ประเภท Shout VDO ทำให้ธุรกิจ Shoppertainement มาแรงและเติบโตต่อเนื่อง โดย 20% ของนักช้อปมักจะซื้อสินค้าผ่านไลฟ์สด
– สื่อเสียงอาจจะกลับมา แต่ปรับไปสู่รูปแบบดิจิทัล เพราะตามสถิติพบว่าคนไทย 55% มีการใช้แพล็ตฟอร์มสตรีมมิ่งเพื่อการฟังเพลง
– 69% คนไทยจะซื้อสินค้าเมื่อเห็นโฆษณา ดังนั้นการโฆษณาก็ยังจำเป็นสำหรับการกระตุ้นยอดขาย
– จำนวนผู้ใช้อุปกรณ์ดิจิตอลเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะแท็บเล็ต เติบโตพุ่งสูงถึง 538%
– ผู้บริโภคชอบคอนเทนต์ที่แสดงความจริงใจ ไม่ต้องประดิษฐ์มาก และ 84% คนไทยยังเชื่อการบอกต่อจากคนรู้จัก
– คอนเทนต์กีฬาได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวไทย และมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าที่เป็นสปอนเซอร์ให้กับกีฬาอีกด้วย
– เมื่อสื่อกระจายตัวโฆษณาดิจิทัลอาจจะไม่ค่อยเห็นผล การวิเคราะห์ข้อมูลที่แม่นยำเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้มากขึ้น จะคุ้มค่ากับเม็ดเงินโฆษณาที่ต้องใช้ไป
– ผู้บริโภคหวงแหนข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น ดังนั้นต้องให้ความสำคัญและระมัดระวังในเรื่องนี้ โดยต้องระบุมาตรการปกป้องข้อมูลดังกล่าวด้วย
หากเราไม่รู้ว่าจะสื่อสารกับใคร ก็ย่อมทำให้เนื้อหาที่เราจะเผยแพร่ไม่ชัดเจนตามไปด้วย โดยการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย อาจทำด้วยการแบ่งตามอายุ ซึ่งแต่ละช่วงอายุก็มีพฤติกรรมและความสนใจที่แตกต่างกัน ดังนี้
Gen Baby Boomer (ผู้ที่เกิดระหว่าง ปี คศ.1946-1964)
จุดแข็ง / จุดอ่อน ให้ความสำคัญกับครอบครัว มีปัญหาด้านสุขภาพ ต้องการที่ยึดเหนี่ยวจิตใจเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนของชีวิต
เนื้อหาที่ติดตาม ศาสนา ข้อมูลทางการแพทย์และสุขภาพ อาหาร ท่องเที่ยว
ประเภทสื่อที่เสพ โทรทัศน์
Gen X. (ผู้ที่เกิดระหว่าง คศ. 1965-1979)
จุดแข็ง / จุดอ่อน ชอบเรียนรู้ด้วยตัวเอง กังวลเรื่องการเงิน รู้สึกไม่มั่นคง ต้องเป็นเสาหลักทั้งที่ทำงานและครอบครัว
เนื้อหาที่ติดตาม การเงิน การลงทุน ทักษะการพัฒนาตัวเอง การเมือง
ประเภทสื่อที่เสพ Facebook YouTube TikTok
Gen Y. (ผู้ที่เกิดระหว่าง คศ. 1980-1996)
จุดแข็ง / จุดอ่อน ทำงานหนักเพื่อสร้างฐานะ เริ่มมีปัญหาสุขภาพ มองหาความสมดุลของชีวิต
เนื้อหาที่ติดตาม การพัฒนาตนเอง ออกกำลังกาย อาหารสุขภาพ ความงาม ไลฟ์สไตล์ ท่องเที่ยว จัดบ้าน
ประเภทสื่อที่เสพ Facebook YouTube TikTok Instagram Streaming Platform
Gen Z. (ผู้ที่เกิดระหว่าง คศ. 19997-2009)
จุดแข็ง / จุดอ่อน หาทางสร้างเงินตั้งแต่อายุน้อย ห่วงภาพลักษณ์ในโลกออนไลน์ กล้าแสดงความคิดเห็น
เนื้อหาที่ติดตาม ทักษะการพัฒนาตนเอง สนใจท่องเที่ยวที่สร้างเงินไปได้ ภาษาต่างประเทศ
ประเภทสื่อที่เสพ YouTube TikTok Instagram
เมื่อวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายจนได้ข้อมูลแม่นยำว่ากลุ่มเป้าหมายมีอายุ อาชีพ ที่อยู่ มีความเชื่อ วิถีการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมการสื่อสารเป็นอย่างไร ก็มาสู่ขั้นตอนการออกแบบเนื้อหาและเลือกใช้สื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายนั้น โดยมี 3 องค์ประกอบหลัก
MESSAGE – เนื้อหาหรือข้อมูลที่จะเผยแพร่ ผ่านคอนเทนต์ต่างๆ
MEDIA – ประเภทของสื่อที่จะใช้ เช่น Facebook YouTube TikTok Instagram Streaming Platform
SEQUENCE – ช่วงเวลาในการเผยแพร่ ซึ่งต้องสอดคล้องกับช่วงเวลาเสพสื่อของกลุ่มเป้าหมาย
สุดท้ายคือการกำหนดผลที่คาดว่าจะได้รับจากการผลิตและเผยแพร่สื่อนั้นๆ ซึ่งสามารถกำหนดเป้าหมายได้ ดังนี้
สร้างความตระหนักรู้ [Awareness]
เหมาะกับสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวกับนวัตกรรม ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ สร้างความเท่าเทียบทางสังคม กระตุ้นความเอื้ออาทร เช่น สถานการณ์คนป่วยโรคเรื้อรังที่เพิ่มมากขึ้น เพราะการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล เป็นต้น
การกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม [Activation]
สื่อที่มีคุณภาพและมีความถี่ในการเผยแพร่มากพอ จะมีผลต่อการปรับพฤติกรรมผู้รับสื่อได้ เช่น สื่อโฆษณาที่ชี้ให้เห็นโทษของการขับรถเร็วจนเกิดอุบัติเหตุ ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ขับขี่ให้ลดความเร็วและเพิ่มความระมัดระวัง
สร้างการมีส่วนร่วม [Participation]
เหมาะกับสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆ เช่น รณรงค์ให้ร่วมบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ ซื้อสินค้าในแคมเปญพิเศษเพื่อร่วมกันทำบุญ การบริจาคอวัยวะ เป็นต้น
สร้างความผูกพัน [Engagement]
กลยุทธ์การสร้าง Brand Awareness หรือความจงรักภักดีของผู้บริโภค จะมีผลต่อการขายสินค้าหรือบริการระยะยาว ซึ่งสามารถใช้ประเด็นใกล้ตัวมานำเสนอ เช่น ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม หรือของเล่นของเด็กต้องปลอดภัยและมีผลต่อพัฒนาการเรียนรู้ เป็นต้น
ทั้งหมดเป็นข้อมูลบางส่วนจากกิจกรรมฝึกอบรม Yold Storyteller: นักเล่าเรื่องออนไลน์วัยเก่า โดยโครงการสูงวัยหัวใจยังเวิร์ค ปี 2 ซึ่งเปิดห้องเรียนอย่างจริงจัง 2 วันต่อเนื่อง ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่ต้องการเพิ่มทักษะการผลิตและความเท่าทันสื่อให้ผู้สูงอายุ สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของกิจกรรมต่างๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/youngoldyoungwork
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |