Global Soft Power Index 2022 ซึ่งจัดทำโดย Brand Finance ระบุว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 35 ประเทศที่มีมูลค่า Soft Power สูงสุดจาก 120 ประเทศทั่วโลก โดย TOP 5 เป็น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ,เยอรมัน,จีน และ ญี่ปุ่น ส่วนเกาหลีใต้ อยู่อันดับที่ 12
ข้อมูลจาก BUSINESS WATCH เมื่อปี 2565 ระบุว่า Soft Power ไทยที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากสุด 5 อันดับแรกได้แก่ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 409,000 ล้านบาท, อาหารไทย 267,000 ล้านบาท, โฆษณา 208,000 ล้านบาท, แฟชั่น 189,000 ล้านบาท และออกแบบ 125,000 ล้านบาท
ขณะที่รายงาน “ธุรกิจผลิตสื่อบันเทิงไทย ผลักดันอย่างไรให้ไปทั่วโลก” ของ วัชรินทร์ ชินวรวัฒนา เศรษฐกรอาวุโส ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ตีพิมพ์เมื่อตุลาคม 2565 ระบุว่า ธุรกิจผลิตสื่อบันเทิง ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 26 พันล้านบาท หรือเพียงร้อยละ 0.2 ของ GDP สามารถเป็น New growth engine ที่สำคัญให้กับเศรษฐกิจไทย เนื่องจากตลาดสื่อบันเทิงโลกยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะสร้างมูลค่าโดยตรงจากการผลิตและขายสื่อแล้ว ยังสามารถสร้างมูลค่าเศรษฐกิจทางอ้อมได้จากการดึงดูดให้ผู้ชมมาบริโภคสินค้าหรือบริการอีกทางหนึ่ง
นั่นหมายความว่า ช่องทางและโอกาสธุรกิจสื่อไทย ที่จะเป็น growth engine ระบบเศรษฐกิจประเทศ เป็นพื้นที่ควรค่าการแก่การบุกเบิกนำทาง !
“ผมคิดว่า ผมไม่หลงทาง” ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวยืนยันถึงภารกิจของกองทุนสื่อฯ ในงานแถลงข่าวความสำเร็จของโครงการพัฒนาผู้ประกอบการสื่อรายใหม่ Thai Media Fund Hackathon 2023 ถึงเหตุผลที่กองทุนสื่อฯ เข้ามาสนับสนุนการสร้างสตาร์ทอัพ ผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์
“ภารกิจของเราคือการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ต้องทำให้สื่อนั้นมีผลกระทบและจับต้องได้ พวกเราศึกษาดูงานในต่างประเทศมาเยอะมาก ทำให้รู้ว่า คนไม่ได้อยากดูแต่สื่อน้ำเน่า คนสนใจสื่อสร้างสรรค์มากขึ้น กองทุนสื่อฯ อยากสร้างสื่อดี ๆ ให้กับสังคมและผู้ผลิตสื่อดีก็ควรไปได้ดีในด้านธุรกิจด้วย”
“ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของกองทุนสื่อฯ คือ การสร้างคนสำหรับอนาคตหรือคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นที่มาของโครงการพัฒนาผู้ประกอบการสื่อรายใหม่ “Thai Media Fund Hackathon 2023” การพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สูงสุดของการพัฒนาคือ การสร้างเนื้อหาที่แปลงจากสิ่งที่มีคุณค่าเพื่อไปสร้างมูลค่า ถ้าทำสื่อดี สร้างโอกาส สร้างธุรกิจสำหรับคนรุ่นใหม่ขึ้นได้ ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของกองทุนฯ
“ TMF Hackathon ที่ทำกันมาตลอดระยะกว่า 5 เดือนเป็นกระบวนการที่เข้มข้น จริงจัง สนุกสนานมีคุณค่า คนทำสื่อจะรู้เรื่องการทำเนื้อหาอย่างเดียวไม่พอต้องรู้การบริหารธุรกิจการดูแลองค์กรด้วย ปีนี้ถือเป็นโครงการนำร่อง แต่เชื่อมั่นว่า 2 ทีมที่ชนะเลิศ จะเป็นจุดตั้งต้นและแรงระเบิดที่จะมีสตาร์ทอัพเรื่องสื่อปลอดภัยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ วันหนึ่งภาครัฐอาจเห็นพ้องสนับสนุนเป็นเรื่องเป็นราวเกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์ขนาดใหญ่สัน วันประเทศจะสามารถสร้างพลังของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของสื่อที่จะไปสร้าง Soft power ได้ในระดับโลก”
“ทีมชนะถือเป็นจุดเริ่มต้น ได้ทำตามฝัน หลายคนที่มีฝันอยากทำสื่อแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร มาขอทุนไม่ได้ ให้มา “Hackathon” กองทุนสื่อฯ เป็นบ่อน้ำพร้อมบำบัดความกระหาย ที่นี่เรามีผู้พร้อมสนับสนุนมากมาย กองทุนสื่อฯ ไม่ใช่ผู้มอบเงินล้าน แต่เป็นผู้ใหญ่ใจดีหลายองค์กร ที่ร่วมและอีกหลายรายที่อยากมาร่วมโครงการนี้ด้วยกัน”
โครงการพัฒนาผู้ประกอบการสื่อรายใหม่ Thai Media Fund Hackathon 2023 ถือเป็นโครงการนำร่องเพื่อสร้างคนสร้างโอกาส และพัฒนาสตาร์ทอัพด้านอุตสาหกรรมสื่อ มีกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับพันธมิตรที่สำคัญกันช่วยกันแปลงคุณค่าเป็นมูลค่า อาทิ วรนันท์ ถาวรนันท์ กรรมการ บริษัท อองเทรอเพรอเนอ แอดไวเซอรี่ เซ็นเตอร์ จำกัด วิบูลย์ ลีรัตนขจร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เซิร์ช เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด,บริษัท เทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด (มหาชน),พิชัย ชัยณรงค์โลกา ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท เทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ รศ.นพ.กัมมาล กุมาร ปาวา รองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์พัทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กิจกรรมใช้เวลาเกือบ 6 เดือน คัดผู้สมัครจากเกือบ 100 ทีม เคี่ยวกรำ จนเฟ้น 2 ทีมสุดท้ายที่คว้ารางวัลชนะเลิศ ได้รับทุนไปพัฒนาโครงการให้เกิดขึ้นจริง คือ โครงการปฏิรูปสื่อเหนือของทีมจั๋นเป็ง pro max และ โครงการ MENTAL ME เพื่อคุ้มกันสุขภาพจิตเด็กของ ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา
ทีมจั๋นเป็ง pro max มี อนวรรษ พรมแจ้ ชาวลำพูนวัย 28 ปี และสองพี่น้องชาวเชียงใหม่ สุขุม คำดีฟั่น 29 ปี และ นฤมล ดีคำฟั่น 36 ปี เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง มีผลงานผลิตสื่อระดับมือรางวัลมาแล้วก่อนหน้า
“เราเล็งเห็นว่า สื่อบันเทิงในภาคเหนือส่วนใหญ่ มักจะขายอดีตและของเก่าเป็นหลัก เราจึงมีแนวคิดที่จะปฏิรูปสื่อเหนือด้วยการนำเสนอความเป็นปัจจุบันของภูมิภาคและสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ให้ได้มากยิ่งขึ้น จากการทดลองทำเพจการ์ตูนแก๊กภาษาเหนือจนสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ออกมาเป็นหนังสือการ์ตูนภาษาเหนือเล่มแรกได้ จากนั้นไม่นานคาแรกเตอร์ของตัวการ์ตูนในเพจอย่างส้มป่อยก็ถูกผลิตเป็นภาพยนตร์ขนาดยาวฉายในโรงภาพยนตร์ในปี 2564 ทางทีมจึงเล็งเห็นช่องทางในการเติบโตของธุรกิจสื่อบันเทิงในภูมิภาค จึงร่วมกันก่อนตั้งสตูดิโอเพื่อผลิตคอนเทนต์ให้กว้างขวางมายิ่งขึ้นชื่อ cool mieng pictures ที่ต่อยอดจากทั้งการ์ตูนแก๊กมาทำเป็นมังงะเรื่องยาว รวมถึง ผลิตภาพยนตร์ ซีรีส์ ภาษาเหนือ ออกมาให้รับชมอย่างต่อเนื่อง
โดยมีไลน์อัพ 3 เรื่องแรก คือ 1 ภาพยนตร์ขนาดยาว สาปเมือง วิญญาณคลั่งรักบันลือโลก 2. ซีรีส์มิวสิคคัลภาษาเหนือลานนาเพลย์ลิสต์ 3.การ์ตูนคอมมิคภาษาเหนือ 12 เป็ง โดยทั้ง 3 โปรเจคจะถือเป็นโปรดักท์เบื้องต้นเพื่อเป็นใบเบิกทางให้กับสื่อบันเทิงภาคเหนือยุคใหม่ ที่ผลิตโดยคนพื้นที่ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพและพร้อมส่งต่อไปสู่สายตาผู้คนทั่วประเทศและทั่วโลก” อนวรรษ กล่าว
ขณะที่ทีมเดี่ยวของเด็กสาววัย 18 Mental Me เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเมื่อ 6 ปีที่แล้ว โดย ญา-ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา ตอนนั้นอยู่ในวัย 12 ปี มีความสนใจในด้านจิตวิทยาและสุขภาพจิต และได้มีโอกาสทำงานในสภาเด็กและเยาวชน (ภายใต้กระทรวง พม.) และได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนเขตบางกะปิ และรองประธานสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร (2 สมัยซ้อน)
ปราชญา เล่าว่า เข้าแข่งขันในชื่อโครงงานเดียวกัน Mental Me เพื่อตระหนักถึงสิทธิในการได้รับการรักษา จึงเริ่มต้นจากการทำงานด้านกฎหมายและนโยบาย โดยขับเคลื่อนให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีสามารถพบจิตแพทย์ด้วยตนเองได้ ซึ่งหลังจากระยะเวลาการขับเคลื่อนมากกว่า 3 ปี Mental Me ได้ผลักดันและดำเนินงานสำเร็จ
นอกจากนี้ MM ได้จัดโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพจิตให้กับเด็กและเยาวชน และได้มีการเขียนหนังสือ Changemaker เสียงเล็ก ๆ ของเด็กเปลี่ยนโลกเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้วัยรุ่นเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองและทำสิ่งที่ดีเพื่อสังคม
“หลังจากการขับเคลื่อนกฎหมายและนโยบายซึ่งเป็นกระบวนการปลายทางของการแก้ไขปัญหาสำเร็จแล้วนั้น MM ต้องการที่จะ ‘สร้าง’ มากกว่า ‘ซ่อม’ นั่นคือการสร้างภูมิคุ้มกันทางสุขภาพจิตที่ดีให้กับทั้งเด็ก เยาวชน บุคคลทั่วไป จึงได้มีการคิดค้นและออกแบบแอพพลิเคชั่น ‘รักษ์ใจ’ ที่จะทำให้ผู้คนสามารถเรียนรู้ ดูใจจิตใจของตนเองได้ง่าย ๆ เพียงมือถือเครื่องเดียว ซึ่งจะตอบโจทย์ทั้งการปรึกษา การฝึกฝนทักษะสุขภาพจิต การประเมินปัญหา ไปจนถึงการส่งต่อเข้าสู่ระบบการรักษา”
“Mental ME คว้ารางวัลนี้ได้ เพราะมีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาภูมิคุ้มกันทางสุขภาพจิต และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมสื่อสุขภาพจิตในประเทศไทย ซึ่งทางทีมมองว่าการแข่งขัน TMF Hackathon เป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในการทำเป้าหมายให้เป็นจริง ดังนั้นตลอดระยะเวลาการเข้าร่วมการแข่งขัน ทางทีมจึงตั้งใจในการเข้าร่วมเพื่อเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ และนำเครื่องมือเหล่านั้นมาทำการ Pitching เสนอแก่คณะกรรมการจนประสบความสำเร็จได้เป็นหนึ่งในทีมผู้ชนะ”
ชัยชนะของ 2 ทีมหนุ่มสาว Cool Mieng Pictures และ Mental ME ยังไม่ถึงฉาก The End พวกเขาและเธอแบกความฝันแห่งยุคสมัยของเพื่อนๆ อีกหลายคน ที่จะสร้างแรงระเบิดจากข้างในของคนในวงการสื่อ ที่จะผลักดันอุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์ และขับเคลื่อน New growth engine ตัวนี้เพื่อมรรคผลกับเศรษฐกิจของประเทศ
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |