เทคโนโลยีออนไลน์พัฒนาไปอย่างไร้ขีดจำกัด สร้างความสะดวกสบายให้ชีวิตทุกด้านรวมถึงธุรกรรมทางการเงิน ที่ทุกอย่างทำได้ด้วยโทรศัพท์เพียงเครื่องเดียว ส่งผลให้เกิดอาชีพใหม่ที่แฝงมากับเทคโนโลยีนั่นคือ “โจรไซเบอร์” ที่สร้างความเสียหายต่อประชาชนและหน่วยงานต่างๆ มูลค่ามหาศาลในแต่ละปี
นี่จึงเป็นความสำคัญและเป็นภารกิจของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยในยุทธศาสตร์ลำดับที่ 3 จากทั้งหมด 5 ยุทธศาสตร์ จึงระบุถึง การเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อ และเฝ้าระวังสื่อไม่ปลอดภัยและสร้างสรรค์แก่เด็ก และเยาวชน รวมถึงประชาชนทั่วไป
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดอบรมหัวข้อ “สร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์” เพื่อสร้างความเท่าทันภัยอาชญากรรมออนไลน์ให้กับบุคลากรภาครัฐ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ตลอดจนผู้ที่สนใจด้านความปลอดภัยไซเบอร์ และอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ออกแบบแบบทดสอบ “วัคซีนไซเบอร์” เพื่อเป็นเครื่องมือสร้างความรู้ ความเข้าใจ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เท่าทันมิจฉาชีพออนไลน์
โครงการดังกล่าวเกิดจากการข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสององค์กร เนื่องจากปัจจุบันคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พุ่งสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด เฉพาะช่วงเวลาที่เปิดให้มีการแจ้งความออนไลน์มาร่วมปีเศษ มีคดีฉ้อโกงออนไลน์สูงถึง 350,000 ราย ความเสียหายประมาณ 47,000 ล้านบาท ซึ่งเม็ดเงินส่วนใหญ่จะถูกถ่ายเทออกไปต่างประเทศ
การป้องกันที่ดีที่สุดคือ เท่าทันวิธีการกลลวงของคนร้าย ปกป้องตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ และเท่าทันการใช้สื่อออนไลน์รูปแบบต่างๆ
ดร. ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีเจตนารมณ์ในการสร้างความเท่าทันสื่อ และป้องกันสื่อที่เป็นอันตรายต่อประชาชน อาชญากรรมเป็นภัยออนไลน์ จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในการป้องกันตนเองจากภัยไซเบอร์ การอบรมนี้จะทำให้ได้รับความรู้ ได้เห็นรูปแบบ วิธีการและเห็นความยากลำบากในการติดตามจับกุมคนร้าย ดังนั้นผู้ใช้สื่อออนไลน์ต้องตั้งสติ มีการตรวจสอบข้อมูลเสมอ
แม้จะมีความร่วมมือกันหลายภาคส่วนเพื่อสร้างเกราะป้องกันประชาชนไม่ให้การตกเป็นเหยื่อคดีอาชญากรรมออนไลน์ แต่คนร้ายก็พัฒนาวิธีการหลอกลวงอย่างไม่หยุดยั้งเช่นกัน โดย พล.ต.ต. ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ตอท.) ซึ่งเป็นผู้บรรยายในงานอบรมดังกล่าวได้นำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์หลายด้าน อาทิ
จากจำนวนคดีที่มีการแจ้งความออนไลน์กว่า 350,000 คดี เฉลี่ยอยู่ที่ 15,000 คดีต่อเดือน มีลักษณะที่เกิดขึ้นบ่อย 5 อันดับแรกได้แก่
1. หลอกขายของออนไลน์ สูงสุดถึง 40%
2. หลอกทำงานออนไลน์ เช่น กดไลค์ กดแชร์
3.หลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน แถมเสียเงิน
4.หลอกลงทุนออนไลน์
5 โทรศัพท์ข่มขู่ อ้างว่าเหยื่อเกี่ยวข้อกับคดีผิดกฎหมายต่างๆ เช่น คดียาเสพติด ฟอกเงิน และต้องโอนเงินเพื่อสะสางคดี
เครื่องมือตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นทำได้ดังนี้
1. ตรวจสอบที่มาและความน่าเชื่อถือในอินเตอร์เน็ต เช่น ค้นหาที่มาใน google หรือ www.blacklistseller.com (กรณีซื้อสินค้าออนไลน์)
2. กรณีอ้างชื่อบริษัท ควรตรวจสอบกับเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ datawarehouse.dbd.go.th
3.ตรวจสอบเว็บไซต์ว่าเปิดมานานแค่ไหน ถ้าเปิดมาไม่กี่เดือนก็ไม่น่าเชื่อถือ
4. กรณีที่ถูกชักชวนให้ลงทุนเหรียญคริปโต ควรตรวจสอบใน CoinMarketCap
5. ตรวจสอบรูปประกอบที่ใช้ในคำเชิญชวน โดยเฉพาะรูปคนแปลกหน้าซึ่งมักนำภาพคนหน้าตาดีมาก่อคดี โรแมนซ์สแกม (มิจฉาชีพที่หลอกให้ลุ่มหลง)
เพราะโจรออนไลน์ไม่เคยหยุดคิดค้นวิธีล่อหลอกเหยื่อ จึงยิ่งต้องเรียนรู้และเท่าทันกลอุบายทั้งหลาย ซึ่ง Media Trust รวบรวมจากเนื้อหาอบรมให้ดังนี้
1.หลอกขายสินค้าราคาถูก เช่น สร้างเรื่องว่าโรงงานจะปิด ใช้ภาพปลอมว่ามีคนเข้าคิวซื้อยาวๆ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ Facebook เป็นหลัก เพื่อเปลี่ยนชื่อเพจ เปลี่ยนสินค้าที่ขายไปเรื่อยๆ
2. “จำ…..ได้ไหม” คนร้ายปลอมเป็นคนรู้จักแล้วหลอกยืนเงิน วิธีป้องกันคือโทรไปถามคนรู้จักด้วยเบอร์ที่มี ขอวิดีโอคอลดูหน้าคนที่โทรมา ชวนคุยเรื่องในอดีต และขณะที่โอนเงินก็ต้องดูชื่อบัญชีเพื่อตรวจสอบด้วย
3.โรแมนซ์สแกม มักใช้รูปปลอมของคนหน้าตาดี พูดคุยจนเกิดความลุ่มหลงแล้วจะส่งของมาให้จากต่างประเทศ แต่ต้องเสียภาษี มีค่าใช้จ่าย จึงขอให้โอนเงินไปให้ หรือหลอกให้โอนเงินไปช่วยเหลือกรณีต่างๆ
4. หลอกล่อด้วยรางวัล โดยให้สมัครสมาชิก หรือโอนเงินค่าภาษี ค่าใชจ่ายจ่างๆ ไปให้ก่อน
5.หลอกกู้เงิน (แต่ไม่ได้เงิน) คนร้ายจะสร้างเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกเหยื่อ แล้วส่งจดหมายอิเลคทรอนิคส์ปลอมให้ทางแชทไลน์ หลอกว่าให้กู้โดยไม่ต้องค้ำประกัน ดอกเบี้ยต่ำ ฯลฯ แล้วหลอกให้โอนเงินเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่บางครั้งมากกว่ายอดที่กู้หลายเท่าตัว
6.หลอกหารายได้พิเศษ เช่น ให้ลงทุนในบริษัทขนาดใหญ่ หรือเข้ากลุ่มทำงานที่มีรายได้ทุกวัน หลอกให้สั่งซื้อค้าไปขายเพื่อรับส่วนต่างกำไร เป็นต้น
7.แกงค์คอลเซนเตอร์ จะมีบอสอยู่ต่างประเทศ วางแผนให้ชาวแกงค์คอลเซอร์เตอร์หลอกคนโอนเงินเข้าบัญชีม้า แล้วไปถอนเงินตามแนวชายแดน
8.หลอกว่าเหยื่อเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จับเหยื่อเป็นตัวประกันเพื่อเรียกค่าไถ่เป็นเหรียญคริปโตฯ
9.หลอกเหยื่อซ้ำ โดยเลือกเหยื่อเว็บพนันออนไลน์ แล้วกุเรื่องว่ามีเครือข่ายที่สามารถติดตามเงินกลับมาให้ได้ แต่ให้โอนเงินค่าใช้ก่อน
10.ลงทะเบียนรับเงินโครงการแจกเงินดิจิตอล แต่พอกดลิงค์เพื่อยืนยันตัวตนก็จะถูกขโมยข้อมูลทันที
11.Ransomware ไวรัสเรียกค่าไถ่ โดยคนร้ายจะส่งไฟล์ไปทางอีเมล์ หากเปิดไฟล์นั้น คนร้ายก็จะเข้าควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเรียกค่าไถ่เป็นเหรียบคริปโต
12.หลอกลงทุน โดยแอบอ้างชื่อองค์กร เจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน ฯลฯ โดยรับประกันผลตอบแทนสูง สร้างตัวตนปลอมที่น่าเชื่อถือ สร้างพอร์ตปลอมที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ แต่ถอนเงินออกไม่ได้
13.แชร์ลูกโซ่ โดยสร้างสตอรี่ปลอม มีนักลงทุนระดับโลกร่วมลงทุน เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า รถบรรทุก เป็นต้น
พล.ต.ต. ชูศักดิ์ ทิ้งท้ายว่า “โทรศัพท์ไม่ใช่แค่เครื่องมือสื่อสารแล้ว แต่เป็นตู้เซฟที่ติดตัวเรา อย่าให้กุญแจกับโจรโดยการปล่อยให้ข้อมูลรั่วไหล เช็กก่อนเชื่อ อย่ารีบร้อน แต่หากพลาดท่าถูกหลอกแล้ว ต้องรีบติดตามเงิน โดยโทรแจ้งอายัดบัญชีกับธนาคารได้ ซึ่งธนาคารจะไล่ตรวจสอบเส้นทางการเงินภายใน 72 ชั่วโมง หรือโทรไปศูนย์แอนตี้ออนไลน์สแกม 1441 และภายใน 72 ชั่วโมงนี้ จะต้องไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อตรวจสอบเส้นทางการเงินออกหมายอายัดบัญชีอีกชั้นหนึ่งด้วย”
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |